Page 10 - ดวงพิชัยสงคราม
P. 10
ทัพไทย อีกกองหนึ่งซึ่งมีก�าลังมากกว่าเข้าตีโอบทางด้านหลังในเมืองคัง
แตก ลักษณะการด�าเนินยุทธวิธีเช่นนี้ แสดงถึงกลลวงของสมเด็จพระ
นเรศวร ซึ่งเป็นกลลวงเพื่อสนับสนุนยุทธวิธีการรุก
ย่อมเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์
เป็นนักรบ ทรงเป็นนักการทหารที่ยอดเยี่ยม เป็นนักพยากรณ์ที่ทั้ง
พิธีการต่าง ๆ เป็นอย่างดี ดังเช่น ทรงพยากรณ์ว่าพระมหาอุปราชา
ก่อนท�ายุทธหัตถีว่า พระมหาอุปราชาจะต้องพ่ายไม่ถึงปี ในประวัติศาสตร์
ชาติไทยกล่าวว่า ศึกหงสาวดีคราวกระท�ายุทธหัตถี พระมหาอุปราชาขาด
คอช้าง พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชายกทัพมาจากกรุงหงสาวดี มาตี
เมืองไทยเป็นครั้งที่ 2 เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวร
มหาราชทรงพยากรณ์ว่า พระมหาอุปราชาจะต้องไม่ทันถึงปี และก็ตายใน
ปีนั้นจริง ด้วยการกระท�ายุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชดัง
กล่าว
ในปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทราบข่าวการเดินทัพของ
พระมหาอุปราชาเข้าสู่เจดีย์สามองค์ มาตีเมืองไทยเป็นครั้งที่ 2 พระองค์
ท่านกับพระเอกาทศรถพระอนุชาไปท�าพิธีตัดไม้ข่มนาม ก่อนกระท�า
ยุทธหัตถีตามต�าหรับพิชัยสงครามเสร็จแล้ว จึงเสด็จไปตั้งทัพที่ต�าบล
มะม่วงหวานแล้วเคลื่อนทัพไปตั้งทัพที่หนองสาหร่าย
อาจารย์เทพ สาริกบุตร กล่าวว่า พิธีตัดไม้ข่มนามเป็นพิธีที่ส�าคัญ
อันหนึ่ง ที่กล่าวไว้ในต�าหรับพิชัยสงคราม แต่ต้นต�าหรับเดิมนั้นคง
กระจัดกระจายไป มิได้รวมอยู่ในฉบับที่รวบรวมขึ้นไว้ ตามที่ได้น�ามา
รวบรวมไว้นี้ เป็นฉบับของพระยาสรรพสิทธิ์ ได้ท�าขึ้นเมื่อครั้งพระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จไปตีเมืองทวาย เมื่อ
จุลศักราช 1087 ปีระกาสัปตศก วันพฤหัสบดี แรม 6 ค�่าเดือน 8 และ
ต�ารานี้เมื่อครั้งกรมพระบวรสถานมงคล จะเสด็จไปปราบเจ้าอนุเวียง
จันทร์ก็ได้โปรดเกล้ากระท�าขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจะกระท�าพิธีใหญ่นั้น เหลือ
เวลาอีก 4 วัน 4 ราตรี จะได้ฤกษ์ยกทัพ จึงได้ปลูกโรงพิธีขึ้น ประดับด้วย
เครื่องราชวัฒน์ฉัตรธง ต้นกล้วย ต้นอ้อย ดาษด้วยผ้าขาว แล้วให้เอา
ไม้ต้องนามข้าศึก กับให้เอาต้นกล้วยที่ยอดมวนงามต้นหนึ่ง หาหมอที่
10 ดวงพิชัยสงคราม