Page 37 - คู่มืออบรม Smart ONIE เพื่อสร้าง Smart Farmer เพื่อฝึกอบรมเกษตรกรต้นแบบ ( Master Trainer) สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ
P. 37

วัชพืช การปลูกพืชบํารุงดินเพื่อควบคุมวัชพืช การไม่ใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช ซึ่งเป็นการทําลายสภาพ

                ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั งการปลูกพืชบํารุงดินเพื่อไม่ให้ผิวดินถูกปล่อยว่างภายหลังการ

                เพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นผลเสียโดยตรงต่อโครงสร้างและความอุสมสมบูรณ์ของดิน
                         ทั งนี  จะช่วยลดการใช้หรือพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และลดการแทรกแซงของมนุษย์ที่มีต่อ

                ธรรมชาติให้มากที่สุด โดยหันมาใช้กลไกทางธรรมชาติในการผลิตทางการเกษตร เกษตรกรสามารถประหยัด

                ค่าใช้จ่าย โดยสร้างภูมิคุ้มกันจากต้นทุนทางการผลิต ลดรายจ่ายของครอบครัวโดยไม่ต้องซื อสารเคมีกําจัดศัตรูพืช
                หรือปุ๋ยเคมี มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตนเอง และผลิตเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและมั่นคงภายใต้

                ระบบนิเวศที่สมดุลในพื นที่ของตน



                เกษตรทฤษฎีใหม่
                           ตั งอยู่บนกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 หลักการ และ 2 เงื่อนไข
                คือ หลักความพอประมาณ (Moderation) หลักความมีเหตุผล (Reasonableness) และหลักการมีภูมิคุ้มกัน

                (Immunity) ส่วน 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม
                           ส่วนเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีขั นตอนของ

                การพัฒนาแบ่งออกได้ 3 ขั น คือ


                           ขั้นที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
                            เริ่มต้นจากการมุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่มีน ําไม่เพียงพอสําหรับการเกษตร โดยการใช้แนวทางการ

                จัดทําแหล่งน ําขนาดเล็กในฟาร์ม เช่น การขุดบ่อ ซึ่งจะทําให้ลดความเสี่ยงในเรื่องน ํา เกิดหลักประกันในการผลิต
                อาหารเพื่อการยังชีพเบื องต้น  ส่วนที่ดินการเกษตรอื่น จะใช้ในการผลิตเพื่อตอบสนองกับความต้องการพื นฐาน

                อื่นของครอบครัว ซึ่งอาจมีการขายผลผลิตส่วนเกินเพื่อเป็นรายได้ สําหรับใช้จ่ายในการยังชีพที่จําเป็น ที่ไม่
                สามารถผลิตเองได้  การเกษตรทฤษฎีใหม่ในขั นนี   จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับครอบครัว  แต่เกษตรกร

                ส่วนใหญ่อาจไม่สามารถเริ่มต้นในขั นตอนแรกนี ได้ และอาจจําเป็นที่หน่วยงานต่างๆ จะต้องจัดความช่วยเหลือ

                เพื่อสนับสนุนเกษตรกร  ในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั นต้นนี  มีแนวทางสําคัญในการการจัดสรรที่ดินการเกษตรและที่อยู่
                อาศัย โดยแบ่งพื นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 คือ พื นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ 30% ให้ขุดสระ

                เก็บกักน ํา เพื่อใช้เก็บกักน ําฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี ยงสัตว์น ําและพืชน ํา

                ต่างๆ  พื นที่ส่วนที่สองประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันในครัวเรือนให้เพียงพอ
                ตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื นที่ส่วนที่สามประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก

                พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวัน หากเหลือบริโภคก็นําไปจําหน่าย และพื นที่ส่วนที่สี่ประมาณ

                10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ





                                                             -32-
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42