Page 16 - กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
P. 16
13
2 ปัจจัยภำยนอก
2.1. ปริมาณของ CO2 ปกติจะมีเท่ากับ 0.03 เปอร์เซ็นต์ การสังเคราะห์แสงจะ
เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของ CO2 ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น ยกเว้นเมื่อปากใบปิ ดเพราะการ
ขาดน ้า ความแตกต่างระหว่างพืช C3 และ C4 ในแง่ของ CO2 คือ ถ้าปริมาณของ
CO2 ลดลงต ่ากว่าสภาพบรรยากาศปกติแต่แสงยังอยู่ในระดับความเข้มเหนือจุด
Light Compensation พบว่า พืช C3 จะมีการสังเคราะห์แสง เป็น 0 ถ้ามีความ
เข้มข้นของ CO2 50-100 ส่วนต่อล้าน แต่พืชC4 จะยังคงสังเคราะห์แสงได้ต่อไป
แม้ CO2 จะต ่าเพียง 0-5 ส่วนต่อล้านก็ตาม ความเข้มข้นของ CO2ที่จุดซึ่งอัตราการ
สังเคราะห์แสงเท่ากับอัตราการหายใจเรียกว่า CO2 Compensation Point
ข้าวโพดมี CO2 Compensation Point อยู่ที่ 0 ส่วนต่อล้าน ในขณะที่
ทานตะวันมีค่าถึง 50 ส่วนต่อล้านการเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ให้
สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จะมีผลท าให้เกิดการสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น แต่เมื่อเพิ่มขึ้นสูงถึง
0.5 เปอร์เซ็นต์ พืชจะมีการสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น แต่พืชจะทนได้ระยะหนึ่ง คือ
ประมาณ 10-15 วัน หลังจากนั้นพืชจะชะงักการเจริญเติบโต โดยทั่วไปพืช C4
จ ะ ทนต่อ ค ว ามเ ข้มข้นข อง ค า ร์บอ นได อ อ กไซ ด์ได้ดี ก ว่า พื ช C3
2.2. ความเข้มของแสง ใบของพืช C4 ตอบสนองต่อความเข้มของแสงเป็น
เส้นตรงคือเมื่อเพิ่มความเข้มของแสง อัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้น โดยทั่วไป
ยอดของพืช C4 จะได้รับแสงมากกว่าใบล่าง ดังนั้นใบยอดอาจจะได้รับแสงจนถึงจุด
อิ่มตัวได้ ในขณะที่ใบล่างจะไม่ได้รับแสงจนถึงจุดอิ่มตัวเพราะถูกใบยอดบังแสงไว้ แต่
เมื่อพิจารณาพืชทั้งต้นหรือทั้งป่า จะพบว่าพืชไม่ได้รับแสงถึงจุดที่จะท าให้การ
สังเคราะห์แสงสูงสุดเพราะมีการบังแสงกันภายในทรงพุ่ม ส่วนคุณภาพของแสงนั้น
แสงที่มีความยาวคลื่นช่วง 400-700 nmเหมาะสมที่สุด ความเข้มของแสง หรือ
ปริมาณพลังงานแสงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ซึ่งมีหน่วยเป็นลักซ์ (Lux) (10.76 lux = 1
ft-c)ในแต่ละท้องที่จะมีความเข้มของแสงไม่เท่ากัน ซึ่งท าให้พืชมีการปรับตัวทาง
พันธุกรรมต่างกัน การสังเคราะห์แสงของพืชโดยทั่วไปจะดีขึ้นเมื่อพืชได้รับความเข้ม
ของแสงมาก