Page 12 - กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
P. 12
9
การที่พืชรับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ได้โดยตรงนี้ พืชต้องมีกลไกพิเศษ
คือ มีรงควัตถุ (Pigment) สีเขียว ซึ่งเรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophylls) ซึ่งมี
โครงสร้างประกอบด้วยวงแหวนPyrrole 4 วง เรียงติดกัน มี Mg อยู่ตรงกลาง ซึ่ง
เป็นส่วนที่ดูดแสงเรียกว่า Head ส่วน Tail คือ Phytol ซึ่งคลอโรฟิ ลล์เป็นรงค
วัตถุที่ปรากฏอยู่ในคลอโรพลาสต์ ท าหน้าที่ในการจับพลังงานจากแสง ซึ่ง
โครงสร้างของคลอโรพลาสต์นี้ได้กล่าวถึงแล้วในบทที่ 1 นอกจากคลอโรฟิ ลล์
แล้ว รง ค วั ต ถุ ที่เ กี่ย ว ข้ อ ง กับ ก า ร สัง เ ค รา ะ ห์ แส ง ยัง มี ค า โร ที
นอยด์ (Carotenoids) และไฟโคบิลินส์(Phycobilins)สิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสง
ได้จะมีรงควัตถุหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งชนิด รงควัตถุเหล่านี้แสดงอยู่ในตารางที่ 1
- คลอโรฟิลล์ เอ นั้นจัดว่าเป็นprimary pigment ท าหน้าที่สังเคราะห์แสง
โดยตรง ส่วนรงควัตถุชนิดอื่นๆ ต้องรับแสงแล้วจึงส่งต่อให้คลอโรฟิลล์ เอ เรียกว่า
เป็นAccessory pigment ในพืชชั้นสูงทั่วๆ ไปจะมีคลอโรฟิลล์ เอ มากกว่า
คลอโรฟิลล์ บี ประมาณ 2-3 เท่า ส่วนแบคทีเรียบางชนิด เช่นGreen bacteria
และ Purple bacteria จะมีรงควัตถุซึ่งเรียกว่าBacteriochlorophyll
ซึ่งปรากฏอยู่ในไธลาคอยด์ การสังเคราะห์แสงของแบคทีเรียจะต่างจากการสังเคราะห์
แสงของพืชชั้นสูง เพราะไม่ได้ใช้น ้าเป็นตัวให้อีเลคตรอนและโปรตอน แต่
ใช้H S แทน และเมื่อสิ้นสุดการสังเคราะห์แสงจะไม่ได้ก๊าซออกซิเจนออกมา แต่
2
จะได้สารอื่น เช่น ก ามะถันแทน