Page 122 - คณิตศาสตร์ ม.ปลาย
P. 122

122



                                 นอกจากนี้ยังมีขอมูลซึ่งสามารถแยกตามกาลเวลาและสภาพภูมิศาสตรอีกดวย

                       แหลงที่มาของขอมูล โดยปกติขอมูลที่ไดมาจะมาจากแหลงตาง ๆ อยู  2  ประเภท  คือ
                          -  ขอมูลปฐมภูมิ  (  Primary  data )  หมายถึง  ขอมูลที่รวบรวมมาจากผูใหหรือแหลงที่

                   เปนขอมูลโดยตรง  เชน  การสํารวจนับจํานวนพนักงานในบริษัทแหงหนึ่ง

                          -  ขอมูลทุติยภูมิ  (  Secondary  data )  หมายถึง  ขอมูลที่รวบรวมหรือเก็บมาจาก
                   แหลงขอมูลที่มีการรวบรวมไวแลว  เชน  การคัดลอกจํานวนสินคาสงออกที่การทาเรือไดรวบรวมไว

                       1.2  การเก็บรวบรวมขอมูล

                                 การเก็บรวบรวมขอมูลในทางสถิติจะมีวิธีการเก็บรวบรวมขอมูลได  3  วิธี  ตาม

                   ลักษณะของการปฏิบัติ  กลาวคือ
                                 1)  วิธีการเก็บขอมูลจากการสํารวจ  การเก็บรวบรวมขอมูลวิธีนี้เปนที่ใชกันอยาง

                   แพรหลาย  โดยสามารถทําไดตั้งแตการสํามะโน  การสอบถาม / สัมภาษณจากแหลงขอมูลโดยตรง

                   รวมทั้งการเก็บรวบรวมขอมูลที่เกิดเหตุจริง ๆ  เชน  การเขาไปสํารวจผูมีงานทําในตําบล  หมูบาน  การ

                   แจงนับนักทองเที่ยวที่เขามาในจังหวัด  หรืออําเภอ  การสอบถามขอมูลคนไขที่นอนอยูในโรงพยาบาล
                   เปนตน  วิธีการสํารวจนี้สามารถกระทําไดหลายกรณี  เชน

                                         1.1  การสอบถาม  วิธีที่นิยม  คือ  การสงแบบสํารวจหรือแบบขอคําถามที่

                   เหมาะสม  เขาใจงายใหผูอานตอบ  ผูตอบมีอิสระในการตอบ  แลวกรอกขอมูลสงคืน  วิธีการสอบถามอาจ
                   ใชสื่อทางไปรษณีย   ทางโทรศัพท  เปนตน  วิธีนี้ประหยัดคาใชจาย

                                         1.2  การสัมภาษณ  เปนวิธีการรวบรวมขอมูลที่ไดคําตอบทันที  ครบถวน

                   เชื่อถือไดดี  แตอาจเสียเวลาและคาใชจายคอนขางสูง  การสัมภาษณทําไดทั้งเปนรายบุคคลและเปนกลุม
                                 2)  วิธีการเก็บขอมูลจากการสังเกต  เปนวิธีการรวบรวมขอมูลโดยการบันทึกสิ่งที่

                   พบเห็นจริงในขณะนั้น  ขอมูลจะเชื่อถือไดมากนอยอยูที่ผูรวบรวมขอมูล  สามารถกระทําไดเปนชวง ๆ

                   และเวลาที่ตอเนื่องกันได  วิธีนี้ใชควบคูไปกับวิธีอื่นๆ  ไดดวย
                                 3) วิธีการเก็บขอมูลจากการทดลอง เปนการเก็บรวบรวมขอมูลที่มีการทดลอง

                   หรือปฏิบัติอยูจริงในขณะนั้นขอดีที่ทําใหเราทราบขอมูล ขั้นตอน เหตุการณที่ตอเนื่องที่ถูกตองเชื่อถือได

                   บางครั้งตองใชเวลาเก็บขอมูลที่นานมาก   ทั้งนี้ตองอาศัยความชํานาญของผูทดลอง หรือผูถูกทดลองดวย

                   จึงจะทําใหไดขอมูลที่มีความคลาดเคลื่อนนอยที่สุด
                                 อนึ่ง  การเก็บรวบรวมขอมูล  ถาเราเลือกมาจากจํานวนหรือรายการของขอมูลที่

                   ตองการเก็บมาทั้งหมดทุกหนวยจะเรียกวา  “ประชากร”  ( Population  )  แตถาเราเลือกมาเปนบางหนวย

                   และเปนตัวแทนของประชากรนั้น  ๆ  เราจะเรียกวา  กลุมตัวอยางหรือ “ ตัวอยาง” ( Sample )
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127