Page 164 - โครงการ1-10 ป๋อม
P. 164
153
ไม่ให้เกิดความขัดแย้งจนถึงต้องแตกกลุ่มกัน แม้ว่าแต่ละคนอาจจะมีนิสัยใจคอหรือผลประโยชน์
แตกต่างกัน
พจนานุกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ได้ให้ความหมายของการปรับตัวดังนี้
1. เป็นความสัมพันธ์ที่สอดคล้องระหว่างสภาพแวดล้อมกับความต้องการเองตนเองทั้งทางด้าน
ร่างกายและจิตใจ
2. เป็นการปรับและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่จ าเป็น เพื่อสนองความต้องการและความพึงพอใจ
อย่างสูงสุด โดยสร้างความสัมพันธ์ที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
มาล์มและเจมิสัน (Malm & Jamison) กล่าวว่า การปรับตัว หมายถึง วิธีการที่คนเราปรับตัว
ให้เป็นไปตามความต้องการของตัวเองในสภาพแวดล้อม ซึ่งบางครั้งสงเสริม บางครั้งขัดเวาง และ
บางครั้งสร้างความทุกข์ทรมานแก่เรา กระบวนการปรับตัวนี้เกิดขึ้นจากความจริงที่ว่า มนุษย์ทุกคนมี
ความต้องการและเราสามารถใช้วิธีการแบบต่าง ๆ ในการต าเนินการเพื่อให้บรรสุถึงความต้องการนั้น
ๆ ในสภาวะแวดล้อมที่ปกติธรรมดาหรือมีอุปสรรคขัดขวางต่าง ๆ กันไป
ลาซารัส (Lazarus) กล่าวว่า การปรับตัว ประกอบขึ้นด้วยกระบวนการหรือวิธีการทั้งหลาย
ทางจิตซึ่งมนุษย์ใช้ในการเผชิญข้อเรียกร้องหรือแรงผลักดันภายนอกและภายใน
โคลแมนและแฮมแมน (Coleman and Hamman) กล่าวว่า การปรับตัว หมายถึง ผลของ
ความพยายามของบุคคลที่พยายามปรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง เม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหา
ด้านบุคลิกภาพ ด้านความต้องการ หรือด้านอารมณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม จนเป็น
สถานการณ์ที่มีบุคคลนั้นสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ
การปรับตัว หมายถึง การที่บุคคลหาวิธีที่จะลดสภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์ ซึ่งความ
พยายามดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้มีความสามารถในการด าเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
จากความหมายหลากหลายของทัศนะข้างต้นสามารถสรุปความหมายของการปรับตัวได้ว่า
การปรับตัว หมายถึง การที่บุคคลพยายามปรับกาย ใจ ปรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ตน และ
พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความต้องการของตนเอง จน
สามารถด าเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขปราศจากความคับข้องใจ