Page 19 - โครงการ1-10 ป๋อม
P. 19

8







                                           อย่างไรก็ตาม ยังมีการตีความหมายตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาวิชาจิตวิทยา
                       สังคมวิทยา มานุษยวิทยา นอกจากนั้นนักวิชาการสาขาต่างๆ อาทิ นักสุขภาพจิต นักสังคมสงเคราะห์

                       นักสังคมวิทยา นักจิตวิทยา นักธุรกิจ และนักบริหาร ได้ให้ความหมายค าว่า “มนุษยสัมพันธ์” ไว้อย่าง

                       หลากหลายโดยสรุปเป็น 3 ลักษณะดังนี้



                              1.  ความหมายในลักษณะทั่วไป


                                              มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิด
                       ความเข้าใจอันดีต่อกัน  (ราชบัณฑิตยสถาน,2525 : 402)


                                             มนุษยสัมพันธ์ (Human Relationships) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่

                       เป็นคณะหรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลระหว่างกลุ่ม เพื่อให้ทราบความต้องการ

                       ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่ม รวมไปถึงวิธีการจูงใจและประสานความต้องการของบุคคลและกลุ่มให้

                       ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ

                       (ประชาบัณฑิตยสถาน, 2538 : 628)


                                             มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การติดต่อเกี่ยวข้องระหว่างมนุษย์อันเป็นสะพานทอดไปสู่

                       การสร้างมิตร ชนะมิตร และจูงใจคน รวมทั้งการสร้างหรือพัฒนาตนเองให้เป็นที่รู้จักรักใคร่ชอบพอแก่

                       คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง ได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากบุคคลทุกฝ่าย มันเป็นการสร้างตัวตนเช้ามาก็

                       งอนให้เป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งแสดงให้เห็นลักษณะส าคัญของการเป็นผู้น าในอนาคตอีกด้วย

                       (วิจิตร อาวะกุลม, 2542 : 26)

                              2.  ความหมายในลักษณะวิชา


                                              มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ของการสร้างความตั้งใจ รักใคร่ ศรัทธา

                       เคารพ นับถือ โดยแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจาและใจ เพื่อโน้มน าให้มีความรู้สึก

                       ใกล้ชิด เป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจกันที่จะบรรลุสิ่งซึ่งพึ่งประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคม

                       ได้อย่างสันติสุข (กฤษณา ศักดิ์ศรี, 2534 : 23)


                                            มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลปะในการเสริมสร้าง
                       ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เพื่อได้มาซึ่ง ความรักใคร่นับถือ แล้วความจงรักภักดี และความ

                       ร่วมมือ (วิจิตร อาวะกุลม, 2542 : 27)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24