Page 103 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 103

๑๐๕

                                     ตาราง 4.2 ผลสำรวจผู้ใช้บริการรถโดยสาร Shuttle Bus


                 รถโดยสาร Shuttle Bus                                    ผลสำรวจ
                 สาย B1: เส้นทาง          - ร้อยละ 98 ของผู้โดยสารต้องการให้มีรถโดยสาร Shuttle Bus มาบริการ
                 สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ –  - ต้องการให้เพิ่มจุดจอดรถให้มากขึ้น

                 BTS สถานีบางหว้า         - กำหนดเวลารับ – ส่งของแต่ละจุดจอดให้แม่นยำมากขึ้น
                                          - จำนวนรถไม่เพียงพอ
                 สาย B2: เส้นทาง          - ร้อยละ 98 ของผู้โดยสารต้องการให้มีรถโดยสาร Shuttle Bus มาบริการ
                 ชุมชนเคหะร่มเกล้า –      - ต้องการให้เพิ่มจุดจอดรถให้มากขึ้น

                 Airport Link สถานี       - ต้องการให้มีพื้นที่จอดรถ “จอดแล้วจร” (Park and Ride)
                 ลาดกระบัง                - ควรจัดหารถ SHUTTLE BUS ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ไม่ก่อมลภาวะ
                                            เหมาะสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ
                                          - กำหนดเวลารับ - ส่งของแต่ละจุดจอดให้แม่นยำมากขึ้น

                                          - จำนวนรถไม่เพียงพอ
                                          - ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
                 สาย B3: เส้นทาง          - ร้อยละ 63 ของผู้โดยสารต้องการให้มีรถโดยสาร Shuttle Bus มาบริการ
                 ดินแดง – BTS สถานี       - เส้นทางไม่เหมาะสม

                 สนามเป้า                 - จำนวนรถไม่พียงพอ
                                          - กำหนดเวลารับ – ส่งของแต่ละจุดจอดให้แม่นยำมากขึ้น
               ที่มา:   สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร

                       [http://www.bangkok.go.th/traffic/]

                       ผลการสำรวจข้างต้นแสดงให้เห็นว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของผู้โดยสารรถ Shuttle Bus ทั้ง 3 เส้นทาง ใช้
               เวลาเดินทางมายังสถานีหรือจุดจอดรถโดยสาร Shuttle Bus ประมาณ 21 - 30 นาที โดยเฉพาะผู้โดยสารใน

               พื้นที่เขตรอบนอกของกรุงเทพมหานครที่ใช้บริการสาย B1 และสาย B2

                       จากข้อมูลข้างต้น กลุ่มผู้ทำการศึกษาพบว่า หากกรุงเทพมหานครใช้ต้นแบบรถโดยสาร Shuttle
               Bus ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น รถโดยสารประจำทาง ระบบรอง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางในเส้นทางหลักที่

               ดำเนินการโดยรถโดยสารประจำทางขององค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประกอบกับการจัดหารถ
               ประเภทอื่นๆ เพื่อให้บริการตามความต้องการของประชาชน (on demand) และให้ประชาชนสามารถ
               เลือกใช้บริการได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน ก็จะสามารถเป็นทางเลือกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบขนส่ง
               มวลชนทางราง และอาจเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนในพื้นที่ศูนย์ชุมชนเขตมีนบุรีเลือกใช้ขนส่งมวลชนมากกว่าการ

               ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในการเดินทางเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครควร
               มีการวางแผนการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทั้งระบบหลักและระบบรองไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการเปิด
               ให้บริการระบบขนส่งมวลชนทางราง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อวางแผนการเดินทางให้

               สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานครจัดเตรียมไว้
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108