Page 102 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 102
๑๐๔
ตาราง 4.1 แผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบรางในกรุงเทพมหานคร
งบประมาณ
ลำดับ ชื่อโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ
(ล้านบาท)
1 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค 81.608.06 ภายในปี 2560 - 2564
และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ
2 รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี 50,340.12 ภายในปี 2560 – 2564
3 รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี 108,823.74 ภายในปี 2560 – 2565
4 รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ 122,067.27 ภายในปี 2560 – 2565
5 รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – วงแหวนกาญจนา 124,958.62 ภายในปี 2560 – 2565
ภิเษก
6 รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง 47,558.13 ภายในปี 2560 – 2564
7 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค - พุทธมณฑล สาย 4 21,241.50 ภายในปี 2561 – 2565
8 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ – บางปู 12,174.19 ภายในปี 2561 – 2565
9 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต – ลำลูกกา 9,821.41 ภายในปี 2561 – 2565
ที่มา: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
[https://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/bangkok-and-vicinities/]
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาระบบเชื่อมต่อเพื่อนำส่งผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนทางรางใน
้
ระบบขนส่งมวลชนทางรางที่เปิดให้บริการประชาชนแล้ว เช่น ระบบรถไฟฟา BTS ระบบรถไฟ Airport Rail Link
(ARL) สำนักการจราจรและขนส่ง ได้พัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ระบบรอง หรือ Feeder โดยดำเนิน
โครงการทดลองให้บริการรถ Shuttle Bus ซึ่งผู้รับบริการสามารถตรวจสอบเส้นทางการเดินทางและตำแหน่ง
ของรถได้จากแอปพลิเคชัน ViaBus ในระยะเริ่มต้นเปิดให้บริการ ใน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง B1 สถานีขนส่งสาย
ใต้ใหม่ – BTS สถานีบางหว้า เส้นทาง B2 ชุมชนเคหะร่มเกล้า – Airport Link สถานีลาดกระบัง และเส้นทาง B3
ดินแดง – BTS สถานีสนามเป้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเดินทางโดยระบบขนส่งทางราง
ให้บริการเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563
ภายหลังจากที่ได้ทดสอบระบบดังกล่าวไปได้ระยะหนึ่ง สำนักการจราจรและขนส่งได้สำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนต่อการดำเนินโครงการจากกลุ่มผู้ใช้บริการรถโดยสาร Shuttle Bus ทั้ง 3 สาย ได้ผลดังนี้