Page 100 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 100
๑๐๒
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางการควบคุมโครงข่ายการสื่อสารด้วย
เส้นใยนำแสง ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และระบบวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่แบบดิจิทัล (Digital Trunked
Radio System) ของกรุงเทพมหานคร เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินทาง เป็นศูนย์กลางประสาน
และเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนา บำรุงรักษาระบบโทรทัศน์วงจรปิดและระบบ
เครือข่ายสื่อสารของกรุงเทพมหานครในการบริหารจัดการ การปฏิบัติการ และบริการประชาชน รวมทั้งเผยแพร่
ข้อมูลแก่สาธารณชนทางสื่อต่าง ๆ
5. สำนักงานระบบขนส่ง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ ออกแบบ กำกับ และควบคุม
การก่อสร้างระบบขนส่งทางราง จุดเชื่อมต่อการเดินทางของระบบราง กำหนดมาตรฐานการให้บริการระบบขนส่ง
ทางรางของกรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุญาตให้เอกชนจัดทำทางเดินเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารหรือ
ทางเชื่อมอาคาร (Sky Walk) หรือสถานที่จอดรถ (Park and Ride) ติดตาม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล และควบคุม
การให้บริการระบบขนส่งทางรางของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามสัญญา และมาตรฐานสากล เพื่อความ
้
ปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟา และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ของผู้รับจ้างและผู้รับสัมปทาน ทั้งระหว่างการก่อสร้างและหลังการเปิดให้บริการแก่ประชาชนในระบบขนส่งทาง
รางของกรุงเทพมหานคร ศึกษา สำรวจ ออกแบบ และกำหนดมาตรฐานการให้บริการระบบขนส่งทางบกและทาง
น้ำของกรุงเทพมหานคร กำกับ ควบคุมการก่อสร้าง และบริหารจัดการระบบขนส่งทางบกและทางน้ำ ศึกษา
วิเคราะห์ จัดทำแผนระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานคร ทั้งระบบขนส่งทางราง ระบบขนส่งทางบกและทาง
น้ำ ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดรูปแบบของระบบขนส่งมวลชนเสริมในรูปแบบต่าง ๆ และเสนอรูปแบบ แนวทาง
วิธีการลงทุนก่อสร้างในระบบขนส่งต่าง ๆ ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแผนดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเสริม
เพื่อเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนระบบหลัก ศึกษา วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดการ การพัฒนา การ
ปรับปรุง และแก้ไขให้ระบบการขนส่งทางบก ทางราง และทางน้ำ มีรายได้เพียงพอในการดำเนินการ รวมทั้งเพอ
ื่
หารายได้ให้กรุงเทพมหานคร โดยการให้สิทธิ์หรือการว่าจ้างหรือวิธีการอื่นใด เพื่อจัดหารายได้ที่ไม่ส่งผลต่อการ
เดินทางที่สะดวกสบาย และปลอดภัยของประชาชน บริหารจัดการการจัดหารายได้ที่ถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปตาม
กฎหมาย สัญญา และระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
(๓) สถานการณ์ปัจจุบันและผลการดำเนินงาน
แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 – 2565) มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการ
พัฒนาเมืองแบบกระชับ (Compact City) ตามการประกาศกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2556 ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยจะเห็นได้จากพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์ชุมชนย่อยของเขต
เมืองชั้นนอกเพื่อส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การบริการและนันทนาการที่จะก่อให้เกิดความสมดุล
ี
ระหว่างแหล่งงานและที่อยู่อาศัยของประชาชนบริเวณเขตเมืองชั้นนอกยังไม่มการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพมเติม
ิ่
ั
ทำให้ไม่มีปัจจัยดึงดูดทำให้เกิดการพฒนาตามที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครกำหนดไว้เท่าที่ควร
เขตมีนบุรีจัดเป็นเขตที่มีอัตราการขยายตัวของชุมชนเมืองค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตต่อเมือง
(transition zone) ระหว่างเขตเมืองชั้นกลาง ได้แก่ เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว และเขตสะพานสูง ที่มี
การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่กับเขตเมืองชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองสามวา เขตหนองจอก
และเขตลาดกระบัง ที่มีลักษณะเป็นชุมชนเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ จากลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว