Page 97 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 97

๙๙

               ข้อค้นพบ
                                           ี
                       กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มมความคิดเห็นสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ดังนี้
                       1.  หากมีจุดเชื่อมต่อที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก ก็จะเลือกใช้ขนส่งมวลชนระบบราง
                       2.  ควรมีแอปพลิเคชันเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบเส้นทางและวางแผนการเดินทาง
                       3.  ควรมีการให้บริการขนส่งมวลชน ระบบรอง ในเส้นทางที่ไม่มีรถประจำทางสายหลัก
                       4.  การจัดเส้นทางรถโดยสาร Shuttle Bus ควรคำนึงถึงผลกระทบกับรถรับ – ส่ง หมวด 4 เช่น รถตู้

                          รถสองแถว ที่ได้รับสัมปทาน โดยหาเส้นทางที่เหมาะสมและมีผลกระทบน้อยที่สุด
                       5.  ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง

               ข้อเสนอแนะ

                       1. ร่วมมือกับผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน ViaBus เพื่อเพิ่มเติมจุดเชื่อมต่อขนส่งมวลชนเสริม เช่น วินมอเตอร์
               ไซค์ วินรถตู้ และวินรถสองแถว พร้อมแสดงเส้นทางเดินรถ เข้าไปในแอปพลิเคชัน ViaBus ที่สำนักการจราจรและ
               ขนส่งทดลองใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกใช้และติดตามเส้นทางการเดินรถได้สะดวก
                       2. ร่วมมือกับผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Grab Bike เพื่อให้เชื่อมโยงกับ ViaBus และเพิ่มเติมฟังก์ชันการ

               เรียกใช้รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างโดยประสานข้อมูลกับสำนักงานเขต
                                           ้
                       3. ร่วมมือกับการรถไฟฟาขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) เพื่อนำข้อมูลจุดจอดรถยนต์ “จอดแล้ว
               จร” (Park and Ride) มาแสดงไว้ในแอปพลิเคชัน ViaBus เพื่อแสดงจำนวนช่องจอดที่ว่างแบบเรียลไทม์

                       4. ร่วมมือกับภาคเอกชนในการเปิดให้บริการรถโดยสาร ใน 2 เส้นทาง ได้แก  ่
                              4.1 รถโดยสาร Shuttle Bus เส้นทาง เคหะร่มเกล้า - ซอยมิสทีน (ถนนราษฎร์พัฒนา) – สายสีส้ม
               สถานีราษฎร์พัฒนา ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร (เส้นทางสีเขียว)
                              4.2 รถตุ๊กๆ ไฟฟ้า MuvMi ซึ่งให้บริการเดินทางตามที่ประชาชนต้องการในลักษณะ on
               demand โดยเรียกผ่านแอปพลิเคชัน และรถจะไปรับผู้โดยสารที่เดินทางในเส้นทางเดียวกัน การคิดค่าโดยสารจะ

               คิดต่อเที่ยวและหารเฉลี่ยกับจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางในเที่ยวนั้นๆ โดยเสนอให้จัดพื้นที่บริการรถตุ๊กๆ ดังกล่าวใน
               พื้นที่ที่เป็นหมู่บ้านปิดที่มีขนาดใหญ่ มีการใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางจำนวนมาก ได้แก่ เส้นทางซอยรามคำแหง 174
               - สายสีส้ม สถานีมีนพัฒนา ระยะทาง 3 กิโลเมตร (เส้นทางสีน้ำเงิน)

                              4.5 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับการให้บริการขนส่งมวลชนระบบราง จุดเชื่อมต่อ
               ต่างๆ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่รถไฟฟ้าจะเริ่มเปิดให้บริการอย่างน้อย 3 เดือน โดย
               เน้นกลุ่มเป้าหมายคนในวัยทำงาน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่เขตมีนบุรี เพื่อสร้างการตระหนักรู้และกระตุ้น
               ให้เข้าใช้บริการเมื่อรถไฟฟาเปิดให้บริการแล้ว โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ ติดป้ายบริเวณเสา
                                     ้
               รถไฟฟ้า ป้ายรถประจำทาง และข้างรถตู้ของกรุงเทพมหานคร
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102