Page 96 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 96
๙๘
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ความสำคัญและที่มาของปญหา
ั
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) กำหนดแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่ง ให้มีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองที่มีความเหมาะสมกับขนาดเศรษฐกิจ
และสังคมของเมืองที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ส่งเสริมให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายผังเมือง การสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่ และการพัฒนาพื้นที่รอบ
สถานีระบบขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD) ตามระดับการพัฒนาและความสามารถใน
การบริหารจัดการของพื้นที่
แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 – 2565) จึงกำหนดเป้าหมาย
เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองแบบกระชับ (Compact City) เพื่อให้การขยายตัวเติบโตของพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นไป
ั
อย่างทั่วถึงเต็มพื้นที่ ประชาชนได้รับความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และให้เมืองพฒนาไปสู่ความ
เป็นเมืองกระชับ ทั้งในเชิงพนที่และในเชิงเวลาการเดินทางของประชาชน ดังนั้น สำนักการวางผังและพฒนาเมือง ได้
ื้
ั
กำหนดแผนการพัฒนาศูนย์ชุมชนย่อยของเขตเมืองชั้นนอก ซึ่งเขตมีนบุรีเป็นเขตที่มีอัตราการขยายตัวของ
ชุมชนเมืองค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตต่อเมือง (transition zone) ระหว่างเขตเมืองชั้นกลาง กับเขตเมือง
ชั้นนอก จากลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวทำให้เขตมีนบุรีเป็นประตูทางเข้า - ออกของเมือง จึงมีการ
กำหนดให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้ประโยชน์เป็นศูนย์ชุมชนชาน
เมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน พื้นที่บริเวณศูนย์ชุมชนชานเมืองมีนบุรีเป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนวโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี) โดยมี
จุดร่วมบริเวณสถานีมีนบุรี ภายใต้แนวคิด TOD พื้นที่ดังกล่าวสามารถพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบของการยกระดับ
คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสถานีขนส่งมวลชน โดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นศูนย์กลาง
ได้แก่ ระบบรถไฟฟาและรถบริการสาธารณะ ควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นทีรอบสถานีให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
้
อย่างคุ้มค่าและหลากหลาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
2. เพื่อจูงใจให้ประชาชนลดหรือเลิกใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นพาหนะหลักในการเดินทาง
วิธีการศึกษา
1. การศึกษาจากเอกสาร จากโครงการพัฒนาศูนย์ชุมชนชานเมืองมีนบุรีและพื้นที่ต่อเนื่อง ของสำนักการ
วางผังและพัฒนาเมือง และโมเดลระบบ feeder จากต่างประเทศที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ 2 ระบบ
2. การลงพื้นที่เพอสอบถามความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายและเครือข่ายที่กรุงเทพมหานคร
ื่
ต้องประสานงานเพื่อแสวงหาความร่วมมือ รวม 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชาชนในเขตมีนบุรี กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์
รับจ้าง กลุ่มผู้ใช้บริการจุดจอดรถยนต์ “จอดแล้วจร” (Park and Ride) กลุ่มผู้ใช้บริการรถโดยสาร BMA Shuttle
Bus และผู้ควบคุมวินรถสองแถว รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 145 คน