Page 121 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 121
๑๒๓
ภาพ 4.11 เส้นทางรถโดยสาร Shuttle Bus สาย B3
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายร้อยละ ๕๒
และผู้หญิงร้อย ๔๘ ซึ่งสรุปได้ว่าการใช้รถ Shuttle Bus เป็นที่นิยมของทุกเพศ โดยมีอายุในช่วง ๓๑ - ๕๐ ปี และ
เป็นผู้มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีถึง ร้อยละ ๔๕ รองลงมา คุณวุฒิปริญญาตรี ร้อยละ ๓๑ และโดยส่วนใหญ่มี
อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รองลงมา พนักงานบริษัท ร้อยละ ๑๔ ซึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้แน่นอน ร้อยละ
๗๙ และรายได้ไม่แน่นอน ร้อยละ ๒๑ ผู้ใช้บริการดังกล่าวมีเงินเดือนในช่วง 20,000 - ๓0,000 บาท คิดเป็น
ร้อยละ ๓๑ รองลงมา ๓๐,๐๐๐ – ๔๐,๐๐๐ บาท ความถี่การใช้บริการ นานครั้ง (เดือน ๒-๓ ครั้ง คิดเป็น
ร้อยละ ๓๘ รองลงมา ใช้บริการบ่อยมาก แทบทุกวัน ร้อยละ ๓๑ และเป็นครั้งคราว (สัปดาห์ละ ๒-๓ ครั้ง) ร้อยละ ๒๘
จะเห็นว่าประชาชนนิยมใช้บริการค่อนข้างมาก เวลาในการรอคอยรถประมาณ ๑๐ นาที คิดเป็นร้อยละ ๓๑ และ
๑๕ นาที คิดเป็นร้อยละ ๒๘ ผู้โดยสารโดยสารส่วนใหญ่จะเดินมาขึ้นรถเองที่ป้ายจอด เนื่องจากเส้นทางค่อนข้าง
เหมาะสม รองลงมา นั่งมอเตอร์ไซต์ คิดเป็นร้อยละ ๓๑ เมื่อสอบถามถึงความสะดวกในการให้บริการประชาชน
ตอบว่าให้ความสะดวกมาก คิดเป็นร้อยละ ๔๕ รองลงมา ค่อนข้างสะดวกร้อยละ ๓๔ ซึ่งแสดงถึงความพอใจ
ในการได้รับบริการ เสียงสะท้อนที่ได้รับ คือไม่อยากให้กรุงเทพมหานครหยุดให้บริการ หากจำเป็นต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายก็ยอมรับได้ ในช่วงราคา ๑๕ - ๒๐ บาท ความรู้สึกของผู้รับบริการ มีความรู้สึกมีความรู้สึกปลอดภัยดี
ร้อยละ ๔๘ และค่อนข้างปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ ๕๒ เมื่อสอบถามถึงหากมีระบบนำส่งจากบ้านและจุดจอด หรือ
้
จากบ้านถึงสถานีรถไฟฟา ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ส่วนใหญ่ความรู้สึกของประชาชนเห็นด้วย ซึ่งสูงถึงร้อยละ ๖๙ เมื่อ
ถามว่ารูปแบบระบบนำส่งควรจะเป็นอย่างไร นั้นส่วนจะตอบเป็นรถตุ๊ก ๆ ไฟฟ้า และรถบัส คิดเป็นร้อยละ ๒๘