Page 163 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 163
๑๖๕
5.2.4 ภาคส่วนอื่นที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น หน่วยงานภาครัฐ
รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม
และการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ เช่น การจัดประชุมชี้แจง การออกหนังสือ
ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
5.3 การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการตรวจสอบ ดังนี้
ื่
5.3.1 การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพอนำมากำหนดเรื่อง/ประเด็นที่น่าสนใจ เพอให้
ื่
้
ประชาชนคัดเลือกไปตรวจสอบ โดยการออกแบบกระบวนการเพอเก็บรวบรวมขอมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น
ื่
ประเด็นยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ และโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญในแต่ละปี รวมทั้งผลการดำเนินจริงหรือความคบหน้าในการดำเนินการ
ื
ตามแผนต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์เรื่องร้องเรียนของประชาชนจากระบบเรื่องราวร้องทุกข์ 1555
และระบบเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการวิเคราะห์ประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการทำงานของกรุงเทพมหานครตามสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชน
เพื่อนำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นเรื่อง/ประเด็นที่เสนอให้ประชาชนเลือกตรวจสอบผ่านระบบสารสนเทศการ
ตรวจสอบฯ ในแต่ละปี
ั
5.3.2 การวางแผนกิจกรรมการรับฟงความคิดเห็นของประชาชน โดยก่อนการเริ่มต้นการวางแผน
การตรวจสอบประจำปี สำนักงานตรวจสอบภายในต้องประชาสัมพันธ์เปิดใช้งานระบบสารสนเทศอย่างเป็น
ทางการ โดยกำหนดช่วงระยะเวลาการเปิดและปิดระบบอย่างชัดเจน โดยกำหนดระยะเวลาประมาณ 1 เดือนต่อปี
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา จะประมวลผลความต้องการของประชาชนจากระบบฯ เพื่อจัดทำประเด็นหรือหัวข้อ
จัดลำดับความสำคัญตามระดับความเสี่ยง (พิจารณาทั้งโอกาสและผลกระทบ) วิเคราะห์ทรัพยากรการตรวจสอบที่
มีอยู่ เพื่อจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี เสนอให้ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งเผยแพร่แผนการ
ตรวจสอบประจำปีต่อภาคประชาชนผ่านระบบสารสนเทศและช่องทางต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๕.3.3 การปฏิบัติงานตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติและรายงานผลการ
ตรวจสอบ โดยสรุปประเด็นที่ตรวจพบ (issues) และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนา
(recommendations) โดยเพิ่มการเผยแพร่ผลการตรวจสอบต่อสาธารณะผ่านระบบสารสนเทศและช่องทาง
ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร เช่น Facebook สำนักงานตรวจสอบภายใน เว็บไซต์กรุงเทพมหานครฯลฯ สำหรับ
ประชาชนผู้เข้าร่วมตรวจสอบในระบบสารสนเทศการตรวจสอบฯ จะมีการแจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบทางอีเมล์
ของแต่ละท่าน ภายใน 3 วันทำการหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ
๕.3.4 การติดตามผลการตรวจสอบ (Follow-up) เพื่อประเมินว่าหน่วยรับตรวจปรับปรุงแก้ไข
หรือพัฒนางานตามข้อเสนอแนะหรือไม่ และผลความคืบหน้าเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อทราบผลความคืบหน้าในการ
้
ปรับปรุงแกไขของหน่วยงาน ก็จะมีการเผยแพร่ระดับความสำเร็จในการปรับปรุงหรือพัฒนางานของหน่วยงาน
ตามการตรวจสอบต่อภาคประชาชนด้วย รวมทั้งเผยแพร่ประชาชนผู้เข้าร่วมตรวจสอบในระบบสารสนเทศการ
ตรวจสอบฯ เช่นเดียวกับข้อ 5.3.3