Page 159 - รวมเล่ม เนื้อหา 6 ด้าน
P. 159
๑๖๑
ตรวจสอบไว้ที่กิจกรรมที่ไม่ใช่ความสามารถเชิงเทคนิคมาก เช่น การสำรวจข้อมูล การตรวจนับเบื้องต้น ยกเว้นว่า
citizen auditor เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น วิศวกร นักบัญชี เป็นต้น
- เกณฑ์การเลือกประชาชนเข้ามาเป็น citizen auditor คือ ต้องไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์หรือประเด็นทางการเมือง เป็นผู้เสียภาษีอย่างถูกต้อง เป็นผู้ที่เสียสละเข้ามาปฏิบัติงานกับภาครัฐ
โดยไม่ได้คาดหวังชื่อเสียงและสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ที่จะตรวจสอบ
- กรณีศึกษาสำหรับงานตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมของประชาชน คือ การตรวจสอบการจัดการ
ปัญหาน้ำท่วม การจัดการขยะ สิทธิการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ั
- ปัจจัยความสำเร็จ คือ การเสริมสร้างความเชื่อมั่นและการแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศระหว่างกน
รวมทั้งการเสริมสร้างความยั่งยืนในกระบวน
๓. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อเสริมสร้างธรรมมาภิบาลให้กรุงเทพมหานคร
3.2 เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
3.3 เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกรุงเทพมหานคร
๔. เป้าหมาย
4.1 กรุงเทพมหานครมีภาพลักษณ์องค์กรอยู่ในระดับดี
ิ่
4.2 ประชาชนมีระดับความพงพอใจต่อการบริการของกรุงเทพมหานคเพมสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
ึ
ื่
4.3 กรุงเทพมหานครมีระบบสารสนเทศเพอเป็นช่องทางให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
4.4 กรุงเทพมหานครมีรูปแบบและแผนการตรวจสอบภายในแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน
เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ั
4.5 จำนวนหน่วยงานในสังกดกรุงเทพมหานครผู้รับตรวจสามารถปรับปรุงแก้ไขหรือพฒนางานตาม
ั
ข้อเสนอแนะของสำนักงานตรวจสอบภายในไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
๕. แนวทางการพัฒนา
5.1 การพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน (We Hear You)
5.1.1 การออกแบบระบบสารสนเทศการตรวจสอบ ฯ
1) ระบบการจัดเก็บขอมูลผู้เข้าใช้งาน ประกอบด้วย
้
- ข้อมูลทั่วไปของประชาชนผู้เข้าใช้งานระบบ เช่น ชื่อ – สกุล หมายเลขบัตร
ประชาชน เบอร์โทรศัพท์ E – mail Address ฯลฯ
- ประเด็นที่ประชาชนต้องระบุ เพื่อแสดงความต้องการ ได้แก่ ประเภทของ
ภารกิจ ชื่อของงาน โครงการ หรือกิจกรรม สถานที่ตั้ง ประเด็นปัญหาหรือความต้องการในการพัฒนาเบื้องต้น