Page 130 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 130
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 125
รวมถึงพฤติกรรมการสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์ของคนเมืองตรังในพื้นที่ร้านโกปี๊ที่เปิด
โอกาสให้คนตรังมีการสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคม ถือได้ว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่
แสดงออกตัวตนของคนในสังคมได้รับการยอมรับและถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น สอดคล้อง
กับงานวิจัยของอัมพร จิรัฐติกร (2557) ที่มองว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนความคิด
ความเชื่อของคนในสังคม เนื่องจากเป็นสิ่งที่คนในสังคมยอมรับและเลือกปฏิบัติซ ้า ๆ
หากเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับมาก็อาจจะมีการน ามาปรับใช้ในเข้ากับสภาพแวดล้อม และ
วัฒนธรรมของตน จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ถูกผสมกลมกลืน และปรับใช้ให้เหมาะสม
กับวิถีการด าเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมของตนกลายเป็นวัฒนธรรมที่มีความแตกต่าง
จากวัฒนธรรมดั้งเดิม ได้รับการสั่งสม ส่งต่อและสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลังในสังคมกลาย
มาเป็นทุนทางวัฒนธรรมในสังคมที่สะท้อน ทัศนคติ ความเชื่อ รวมถึงคุณธรรมของคน
ในสังคม วิถีการรับประทานโกปี๊จึงกลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีบทบาทต่อการ
พัฒนา แก้ปัญหาที่เกิดในสังคม และสามารถต่อยอดในการสร้างความเข้มแข็งของ
ประชาคมคนเมืองตรังต่อไปในอนาคต สอดคล้องกับแนวคิดทุนทางสังคมของอมรา
พงศาพิชญ์ (2543) ที่มองว่าวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของทุนทางสังคมช่วยในการพัฒนา
ชุมชนและสังคม เนื่องจากเป็นทุนที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อที่จะได้รับการถ่ายทอด เป็นสิ่ง
ที่สร้างสายสัมพันธ์ผูกรวมคนในสังคมกระตุ้นการรับผิดชอบต่อส่วนรวมของคนในสังคม
ถือเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมชุมชนที่ช่วยในการพัฒนาชุมชนและสังคมที่สามารถ
พัฒนาความเข้มแข็งต่อไปในอนาคต
วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาพสะท้อนวิถีแห่งชุมชน
วิถีการรับประทานโกปี๊ของคนเมืองตรังเป็นวิถีการรับประทานใน
ชีวิตประจ าวันที่มีผู้คนในสังคมเข้ามาพบปะพูดคุยระหว่างกัน อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ในการ
รับรองแขกผู้มาเยือน มีการน าอาหารและเครื่องดื่มต่างๆมาต้อนรับ คนเมืองตรังใช้ร้าน
โกปี๊เป็นพื้นที่ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ภายในสังคม ในคุณค่าและความส าคัญโดย
ก าหนดภาพตัวแทนร้านโกปี๊ให้เป็นพื้นที่เข้าร่วมกลุ่มทางสังคม พื้นที่ของเครือข่ายทาง
สังคมของคนเมืองอันเอื้อประโยชน์ต่อการด าเนินชีวิตของคนในสังคม เปรียบดังเวทีทาง
สังคมที่สะท้อนมุมมองด้านทัศนคติ ความคิด และเปิดกว้างให้ผู้คนสามารถที่จะออกมา
แสดงตัวตนให้คนในสังคมได้ยอมรับ แม้ภายนอกอาจจะเป็นเพียงพ่อค้า ผู้เกษียณอายุ
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560