Page 48 - วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1
P. 48
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 43
Keywords : Misconception, Nature of science, Student teachers
บทน า
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature Of Science) เป็นเป้าหมายของการจัดการ
ศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (สสวท., 2545) เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้วิทยาศาสตร์
(Scientific Literacy) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาค่านิยม คุณค่าของมนุษย์
ในอนาคต (Murcia, K, 2005) ซึ่งนักการศึกษาวิทยาศาสตร์หลายท่านเห็นพ้องให้มี
การบรรจุธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ลงในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ดังจะเห็นได้
ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ศึกษาในระดับนานาชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา
(McComas,1998)รวมถึงประเทศไทยที่มีการบรรจุธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ไว้
ในมาตรฐานและตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) สาระที่ 8 ธรรมชาติ
ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ในปัจจุบันการเรียนการสอนธรรมชาติ
ของวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบัน ยังมีข้อจ ากัด และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดการเรียนการสอน
ให้ผู้เรียนเข้าใจถึงลักษณะต่าง ๆ ของวิทยาศาสตร์ (Lederman, 2006) ซึ่งใน
การจัดการเรียนการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั้น หลายๆครั้งที่ธรรมชาติของ
วิทยาศาสตร์ถูกลืมหรือไม่ได้ถูกเน้นระหว่างการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์
(กุศลิน มุสิกุล, 2551) ซึ่งที่ผ่านมาครูและนักเรียนยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับ
ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะในสาระที่ 8 ธรรมชาติ
ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมถึงส่วนส าคัญต่างๆตัวชี้วัด เช่น “ตั้ง
ค าถาม” “วางแผน” “ศึกษาค้นคว้า” “อธิบายเหตุผล” “เลือกอุปกรณ์” “บันทึกข้อมูล”
“อธิบายเหตุผล” และ “จัดแสดงผลงาน”มีแนวโน้มที่จะสื่อว่าธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ท าให้ครูเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในธรรมชาติ
วิทยาศาสตร์ (ลือชา ลดาชาติ, ลฏาภา สุทธกูล และ ชาตรี ฝ่ายค าตา, 2556) และครูมัก
สอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการบรรยาย ไม่มีการเน้น ทักษะกระบวนการการ
แสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และไม่ได้จัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกธรรมชาติ
ของวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน (เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว, สุนันท์ สังข์อ่อง และ สมาน
แก้วไวยุทธ, 2550)
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560