Page 58 - HistoryofNakornratchasima
P. 58

วีรกรรมท้าวสุรนารี (สมัยรัชกาลที่ ๓)

                เหตุการณ์ส�าคัญของเมืองนครราชสีมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
            (รัชกาลที่ ๓) ที่เมืองนี้เกือบจะกลายเป็นเมืองร้าง แต่สามารถพลิกฟื้นกลับมาได้โดยวีรกรรม
            ของบุคคลส�าคัญ
                เหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙ “เจ้าอนุวงศ์” กษัตริย์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์
            เกิดบาดหมางกับทางราชส�านักกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้นสบโอกาสจึงยกกองทัพข้ามแม่น�้าโขง
            ลงมา หมายจะกวาดต้อนผู้คนภาคอีสานกลับขึ้นไปเวียงจันทน์ และหากมีจังหวะดีก็จะ
            เข้าตีถึงกรุงเทพฯ กองทัพเจ้าอนุวงศ์ยกทัพผ่านหัวเมืองภาคอีสานจนมาถึงเมืองนครราชสีมา
            ได้ออกค�าสั่งให้กวาดต้อนพลเมืองทั้งหมดเดินทางไปเวียงจันทน์
                ในขณะนั้นเจ้าเมืองนครราชสีมา และพระยาปลัด (ที่ปรึกษาเจ้าเมือง) เดินทางไป
            ราชการที่เมืองขุขันธ์ (ปัจจุบันคือ อ�าเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) ก�าลังพลในเมือง
            มีน้อยไม่อาจจะต่อสู้เจ้าอนุวงศ์ได้ จึงถูกกองทัพลาวกวาดต้อนออกไปเมืองเวียงจันทน์
            ซึ่ึ่งในกลุ่มผู้ถูกกวาดต้อนนั้นมี “คุณหญิงโม” ภริยาพระยาปลัดรวมอยู่ด้วย ส่วนเจ้าอนุวงศ์
            อยู่ในเมืองเพราะเลือกเมืองนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางการชุมนุมกองทัพลาว เนื่องจาก
            เป็นเมืองที่มีอาหารบริบูรณ์และอยู่บริเวณกึ่งกลางทางเข้ามายังกรุงเทพฯ
                ฝ่ายพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา จึงย้อนกลับมาและเดินทางไปกับครอบครัวพลเมือง
            นครราชสีมาที่ทุ่งสัมฤทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอ�าเภอพิมาย อ�าเภอโนนสูง อ�าเภอเฉลิมพระเกียรติ
            และอ�าเภอเมืองนครราชสีมา) พระยาปลัดได้พบคุณหญิงโมและช่วยกันวางแผนให้คนไทย
            ผูกไมตรีกับฝ่ายทหารลาวผู้คุม เมื่อสบโอกาสชาวนครราชสีมาทั้งหญิงชายรวมกันลุกขึ้น
            จับอาวุธเข้าจู่โจมฝ่ายทหารลาวจนได้ชัยชนะ และได้อาวุธทหารลาวไว้ใช้ต่อไป ร่วมกัน
            ตั้งค่ายรับศึกต่อสู้ลาวที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แม้ภายหลังเจ้าอนุวงศ์ส่งทหารสามพันคนมาปราบ
            ก็ไม่อาจปราบได้ เพราะชาวนครราชสีมาที่ค่ายทุ่งสัมฤทธิ์มีขวัญก�าลังใจเข้มแข็ง
            โดยเฉพาะคุณหญิงโมหัวหน้าฝ่ายผู้หญิงร่วมเข้าต่อสู้กับข้าศึกทัดเทียมกับผู้ชาย
                เมื่อฝ่ายลาวประเมินสถานการณ์แล้ว เจ้าอนุวงศ์จึงล้มเลิกความตั้งใจจะมาตี
            กรุงเทพฯ ถอยทัพกลับไปตั้งรับกองทัพไทยแถวหัวเมืองภาคอีสาน ในที่สุดก็พ่ายแพ้
            แก่กองทัพไทย การศึกในครั้งนี้คุณหญิงโมได้แสดงวีรกรรมที่กล้าหาญในการช่วยเหลือ
            ครอบครัวชาวเมืองนครราชสีมาให้เป็นอิสระได้ และช่วยพระยาปลัดผู้เป็นสามีต่อสู้ข้าศึก
            อย่างกล้าหาญ จึงได้รับการปูนบ�าเหน็จจากราชส�านักกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในหนังสือ
            ประชุมจดหมายเหตุเรื่อง ปราบกบฎเวียงจันท์ ความว่า
                “ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
            พระราชทานบ�าเหน็จ ตั้งคุณหญิงโม้เป็น “ท้าวสุรนารี” แต่พระยาปลัดนั้นถึงรัชกาลที่ ๔
            จึงทรงตั้งเป็นเจ้าพระยามหิศราธิบดี ที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา” (ประชุม
            จดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันท์, ๒๔๗๓ : ๗)



        56 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63