Page 61 - HistoryofNakornratchasima
P. 61
สมัยรัตนโก่สินทร์ตอนก่ล่างจนถึงปัจจุบัน
ก�าเนิดมณฑลนครราชสีมา (สมัยรัชกาลที่ ๕)
การปฏิรูปการปกครองส่วนหัวเมืองครั้งส�าคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) คือ การริเริ่มจัดการปกครองแบบ “มณฑลเทศาภิบาล” คือ
ระบบการปกครองในลักษณะที่จัดให้ข้าราชการที่ทรงไว้วางพระทัย ไปท�าหน้าที่แบ่งเบา
ภาระของรัฐบาลกลางในการปกครองราษฎรในส่วนภูมิภาคให้บ้านเมืองมีความเจริญ
ทั่วถึงกัน โดยข้าราชการผู้ด�ารงต�าแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล (สมุหเทศาภิบาล) มีฐานะ
รองจากเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย แต่อยู่เหนือเจ้าเมือง และข้าราชการทั้งหมด
ในพื้นที่ ๒ จังหวัด หรือมากกว่านั้น ที่รวมตัวเข้าด้วยกันเป็นมณฑลมาจนถึงปัจจุบัน
(โดม ไกรปกรณ์, ๒๕๖๐)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น
สรรพสิทธิประสงค์ มาด�ารงต�าแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ส�าหรับราชการ “มณฑลลาวกลาง”
ตั้งอยู่ที่เมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ เพื่อเตรียมการตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล
ซึ่ึ่งนับว่าเป็นมณฑลระยะแรกในช่วงเริ่มต้นปฏิรูปการปกครอง โดยทรงจัดกรมการผู้ใหญ่
ท�าหน้าที่ตามต�าแหน่ง ทั้งผู้พิพากษาและนายด่าน แต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งเมืองขึ้น
และเมืองฝาก ในเวลานั้นมณฑลลาวกลางมีเมืองขึ้น ๑๓ เมือง และเมืองฝาก ๕ เมือง
โดยมีเมืองนครราชสีมาเป็นหัวเมืองใหญ่ที่ประทับของผู้ทรงเป็นข้าหลวง ต่อมามีการประกาศ
เปลี่ยนนามมณฑลใหม่จากมณฑลลาวกลาง มาเป็น “มณฑลนครราชสีมา” และก�าหนด
ให้มณฑลนครราชสีมามีหัวเมืองในก�ากับดูแล ๔ เมือง คือ เมืองนครราชสีมา เมืองบุรีรัมย์
เมืองนางรอง และเมืองชัยภูมิ โดยมีพระยาประสิทธิศัลการ (สะอาด สิงหเสนี) เป็นข้าหลวง
คนแรกของมณฑลนี้ (เติม วิภาคย์พจนกิจ, ๒๕๓๐ : ๑๓-๑๖)
ในยุคปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ มีผลกระทบต่อผู้น�าท้องถิ่นในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก จึงเกิด “กบฏผีบุญ” ในเขตภาคตะวันออก
เฉียงเหนือหลายจุด กบฏดังกล่าวมีแรงผลักดันทั้งจากความพยายามฟื้นฟูอ�านาจของ
ผู้น�าท้องถิ่นประสานกับการอิงคติความเชื่อดั้งเดิม จนเป็นปัญหาส�าคัญที่รัฐบาลสยาม
ต้องแก้ไขอยู่เนือง ๆ ในเวลานั้น กองก�าลังส�าคัญในการปราบผีบุญก็มาจากเมืองนครราชสีมา
เป็นหลัก ในฐานะศูนย์กลางอ�านาจของรัฐบาลสยาม
ภาพถ่ายเก่าศาลาว่าการ
มณฑลนครราชสีมา
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 59