Page 65 - HistoryofNakornratchasima
P. 65
นครราชสีมา หมุดหมายส�าคัญของทางรถ้ไฟความเร็วสูงในประเทศไทย
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย เริ่มต้นมาตั้งแต่
ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยรัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามบันทึก
ความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกันตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการ
พื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๙ เพื่อร่วมกันสร้าง
โครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน ตามแผนยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซึ่ียน
ระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งยังจะเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟลาว-จีน
โดยยกระดับมาตรฐานรถไฟและส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง
การคมนาคม และโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซึ่ียน
เดือนมีนาคมปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ภายหลังการหารือทวิภาคีร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี
ไทยและนายกรัฐมนตรีจีน มีข้อสรุปการลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูง โดยให้ฝ่ายไทย
เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยก�าหนดนโยบายเริ่มต้น เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรก
ของประเทศไทย “กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” ซึ่ึ่งทางฝ่ายจีนเป็นผู้ออกแบบรายละเอียด
การก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างเส้นทาง
ตามแผนการก่อสร้างเส้นทางแรกของโครงการนี้ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา
จะมีสถานีรถไฟ ๖ แห่ง ได้แก่ สถานีบางซึ่ื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี
สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา โดยเป็นทางรถไฟขนาด ๑.๔๓๕ เมตร เป็นทาง
ยกระดับ ๑๙๐ กิโลเมตร มีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ ๗-๒๒ เมตร และทางระดับพื้น
๕๔.๕ กิโลเมตร อุโมงค์ยาว ๗.๘ กิโลเมตร จ�านวน ๒ แห่ง คือ บริเวณมวกเหล็ก
จังหวัดสระบุรี และบริเวณล�าตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ความเร็วสูงสุด ๒๕๐
กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ประมาณ
๑.๓๐ ชั่วโมง ก�าหนดเปิดให้บริการปี พ.ศ. ๒๕๖๖ (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, ๒๕๖๑)
เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน นครราชสีมาเคยเป็นประตูด่านแรกของทางรถไฟสายแรก
ของรัฐบาลไทย ซึ่ึ่งก่อเกิดความเจริญที่เปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เศรษฐกิจ สังคมครั้งใหญ่
มาแล้ว และอีกไม่กี่ปีหลังจากนี้ เมื่อทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยเปิดให้บริการ
มายังจังหวัดนครราชสีมา ความเจริญระลอกใหม่ก็คงจะเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าเมืองส�าคัญ
เมืองนี้อีกครั้งในอนาคต
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 63