Page 68 - HistoryofNakornratchasima
P. 68
ชาติพันธุ์ในโคราช
โคราช นับเป็นพื้นที่กึ่งกลางระหว่างภาคกลางกับภาคอีสานเสมอมา รวมถึงเป็น
จุดเชื่อมต่อส�าคัญระหว่างดินแดนทั้งสองด้วย ส่งผลให้พื้นที่บริเวณโคราชมีผู้คนหลากหลาย
ชาติพันธุ์แลกเปลี่ยนค้าขายเดินทาง และตั้งรกรากอยู่ด้วยกันหลายกลุ่มชน ทั้งจากเหตุผล
ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง อันเป็นเงื่อนไขส�าคัญต่อการเลือกโคราช
เป็นแหล่งตั้งถิ่นฐาน ชาติพันธุ์ในโคราช มีทั้งหมด ๙ กลุ่ม ได้แก่ ๑. มอญ ๒. ยวน
๓. เขมร ๔. ลาว หรือไทยอีสาน ๕. ไทย ๖. จีน ๗. ชาวบน ๘. ส่วย (กุย) ๙. ไทยซึ่ิกข์
๑. มอญ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พบว่ามีชาวมอญ
อยู่จ�านวน ๒,๒๔๙ คน การอพยพเข้ามาของกลุ่ม
ชาติพันธุ์มอญ สันนิษฐานว่า มีอยู่ ๒ ครั้ง ครั้งแรก
สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่พระราชทานครัวมอญ
เป็นรางวัลแก่พระยานครราชสีมาเมื่อคราวศึก
อะแซึ่หวุ่นกี้ ครั้งที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ เมื่อเกิดขบถเจ้า-
อนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๖ พระบาท-
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยา-
มหาโยธาคุมกองมอญมาสมทบกับทัพของ
กรมพระราชวังศักดิพลเสพย์ที่เมืองนครราชสีมา
ร่วมลาดตระเวนกับทหารไทย ในรัศมี ๓๐ กิโลเมตร
ถึงเมืองปักธงชัย เมื่อเสร็จศึกทหารมอญเดินทางกลับ
ทางเมืองปักธงชัย ด่านสะแกราช กบินทร์ นครนายก
เพราะเป็นเส้นทางที่ใกล้ หาเสบียงสะดวกกว่าทาง
เมืองจันทึก เมื่อทหารมอญเห็นลักษณะภูมิประเทศ
อันอุดมสมบูรณ์ของปักธงชัยเกิดความพอใจ ส่วนหนึ่ง
จึงย้อนมาจับจองที่ดินในจังหวัดนครราชสีมา (ศูนย์
ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา, ๒๕๓๗,
มอญ ๑๘๘)
๒. ยวน-โยนก-ล้านนา เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่แถบบ้านบุ่งล�าไย อ�าเภอสีคิ้ว คนกลุ่มนี้
เคลื่อนย้ายมาจากเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นคนยวนกลุ่มเดียวกับที่อาศัยอยู่แถบอ�าเภอ
เสาไห้ จังหวัดสระบุรี ซึ่ึ่งอพยพมาจากเชียงแสนเช่นกัน ชาติพันธุ์ทั้งสองกลุ่มนี้อาจเป็น
กลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายมาพร้อมกันในสมัยรัชกาลที่ ๑ ท�าศึกสงครามกวาดต้อน ชาวยวน-
ล้านนาลงมาจากเชียงแสน ก่อนให้มาตั้งบ้านที่สระบุรี (บังอร ปิยะพันธุ์, ๒๕๔๑ : ๔๗)
ต่อมากลุ่มชาวยวนจึงเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในบริเวณอ�าเภอสีคิ้ว หลักฐานที่ปรากฏแสดงถึง
ความเป็นคนยวน คือ การทอผ้าที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ตามอย่างวัฒนธรรมล้านนา
ที่ชาวยวนสีคิ้วยังคงปฏิบัติอยู่
66 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม