Page 73 - HistoryofNakornratchasima
P. 73
ในบางกรณีค�าที่ใช้ในภาษาลาว-อีสาน และภาษาโคราชเหมือนกันกลับมีความหมาย
แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ค�าว่า ดอง ที่ในภาษาลาว-อีสาน หมายถึง การแต่งงาน
ภาษาโคราช หมายถึง พ่อแม่คู่บ่าวสาว เช่น พ่อดองแม่ดอง ซึ่ึ่งยังเป็นการคงความหมาย
ที่สัมพันธ์กับการแต่งงานเช่นเดียวกันอยู่ เป็นต้น (สุเทพ ไชยขันธุ์, ๒๕๕๗ : ๖๔)
นอกจากนี้ ศิลาจารึกพ่อขุนรามค�าแหง ด้านที่ ๑ หลักที่ ๑ ความว่า “…เบื้องตีน
นอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจน มีปราสาท มีป่าหมาก มีป่าหมากลาง
มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่ บ้านเล็ก เบื้องหัวนอน เมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎิพิหาร
ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน�้าโคก มีพระขพุง ผีเทวดา
ในเขาอันนั้น...” (วินัย พงศ์ศรีเพียร, ๒๕๕๒ : ๒๖-๒๗) ข้อความบนศิลาจารึกนี้
ตีความได้ว่าทิศทางการบอกเบื้องหัวนอนและตีนนอนในยุคโบราณคงมีลักษณะร่วมกัน
มาแต่เดิม มิได้บ่งชี้ว่าภาษาถิ่นโคราชมีรากค�าที่มาจากภาษาดั้งเดิมยุคสุโขทัยแต่อย่างใด
แม้ภาษาโคราชจะมีลักษณะที่ “เหน่อ” ซึ่ึ่งอาจเป็นส�าเนียงหลวงของราชส�านัก
อยุธยาติดประสมตกค้างอยู่นั้น แต่ด้วยพลวัตทางภาษาศาสตร์ที่อาจมีการหยิบยืมค�า
จากภาษาในพื้นที่ติดต่อทางวัฒนธรรมอย่างพื้นที่อีสาน-ลาว เข้ามาปะปนอยู่ด้วยเช่นกัน
จึงเป็นส�าเนียงโคราชอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวโคราช
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 71