Page 74 - HistoryofNakornratchasima
P. 74

เพลงโคราช

                เพลงโคราชมีการแสดงเป็นทางการครั้งแรกเมื่อครั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอกรม-
            พระยาด�ารงราชานุภาพเสด็จมามณฑลนครราชสีมา เป็นการเล่นแสดงเพื่อถวาย
            สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ครั้งเสด็จมาโคราชในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ดังความ
            ในเพลงโคราชของนายหรี่ว่า “ข้าพเจ้านายหรี่ อยู่บุรีโคราช เป็นนักเลงเพลงหัด
            บ่าวพระยาก�าแพงฯ เจ้าคุณเทศาท่านตั้งให้เป็นขุนนางต�าแหน่ง”
                ถึงอย่างไร ยังมีความเชื่อกันว่าเพลงโคราชนั้นถูกเล่นกันมาก่อนสมัยรัชกาลที่ ๓
            เป็นเพียงการสันนิษฐานเพราะยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด (ถาวร สุบงกช, ๒๕๒๑ : ๑๑๖)





















        การแสดงเพลงโคราช
        แสดง ณ โรงเพลงโคราช บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
        ถนนราชด�าเนิน ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

                ลักษณะของเพลงโคราช เป็นเพลงโต้ตอบของหญิง-ชาย (ที่นักวิชาการสมัยหลัง
            เรียกด้วยค�าบาลี-สันสกฤตว่า เพลงปฏิพากย์) เป็นเพลงที่มีพัฒนาการมาร่วมกันกับ
            ภาษาโคราช และมีลักษณะร่วมกันกับเพลงฉ่อยในภาคกลาง ดังปรากฏในบทไหว้ครู
            ของเพลงโคราชที่มีการกล่าวถึงเพลงครูโคราชพาดควายไว้ด้วย (แยกเป็น ๒ เพลง
            เพลงโคราช และเพลงพาดควาย) สะท้อนถึงความเป็นกลุ่มเพลงที่มีลักษณะเดียวกัน
            กับเพลงฉ่อย
                การแสดงระหว่างเล่นเพลงโคราช  ลักษณะท่าการร�ารุกร�าถอยและการเอามือ
            มาป้องหู สันนิษฐานเช่นกันว่าอาจจะมีที่มาจากการเล่นเจรียงในจังหวัดสุรินทร์ ผสมผสาน
            กับเพลงทรงเครื่องของภาคกลาง ซึ่ึ่งสะท้อนว่าเพลงฉ้อยกับเพลงโคราชเป็นเพลงที่มี
            ลักษณะร่วมกัน (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๕๘ : ๑๘๒-๑๘๓)




        72 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79