Page 79 - HistoryofNakornratchasima
P. 79

ผ้าโคราช

                ผ้าโคราช เป็นผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์ตามบันทึกของ
            ผู้เดินทางผ่านเมืองโคราชมาตั้งแต่อดีต ดังเช่น บันทึกของอ็องรี มูโอต์ นักธรรมชาติวิทยา
            ชาวฝรั่งเศสผู้เดินทางส�ารวจราชอาณาจักรสยาม กัมพูชาและลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๐๑
            -๒๔๐๔ (ปลายรัชกาลที่ ๔) ระหว่างที่เขาเดินทางเข้าไปยังบริเวณพื้นที่โคราชได้จดบันทึก
            ถึงขบวนกองคาราวานที่สวนทางกับคณะเดินทางของเขาโดยกล่าวถึงสินค้าที่มากับ
            กองคาราวานมีทั้ง “ผ้าไหมดิบจากลาวฝั่งตะวันออก ผ้านุ่งทอจากฝ้ายและไหม” (กรรณิกา
            จรรย์แสง.(แปล), ๒๕๕๘ : ๓๕๖) ซึ่ึ่งสะท้อนว่าโคราชเคยเป็นแหล่งผลิตผ้าทอที่หลากหลาย
            และเป็นแหล่งพักกระจายสินค้าประเภทสิ่งทอและผ้านุ่งมาตั้งแต่ในอดีต
                ผ้าหางกระรอก เป็นผ้าที่มีชื่อเสียงอยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙  (พูนพิศมัย ดิศกุล, ๒๕๐๒ :
            ๙๘) รวมถึงบันทึกที่กล่าวถึงการนุ่งผ้าของชาวพื้นถิ่นโคราชมาแต่เดิม ดังเช่น งานบันทึก
            ในกาพย์รถไฟหลวงของพระอุบาลีคุณปมาจารย์ สิริจนโท (จันทร์) ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๐
            กลุ่มที่นุ่งผ้าซึ่ิ่นด�าแดงเป็นลายขวางแตกต่างจากกลุ่มลาวที่นุ่งผ้าลายล่องตามขาเป็น
            ลายแนวตั้งตามขา (เอนก นาวิกมูล, ๒๕๕๐ : ๒๗๓)
                ทั้งยังมีงานประพันธ์ของสามัญชน กล่าวถึงร้านรวงอันเป็นที่ขายผ้าแพรพรรณ
            ต่าง ๆ ในเมืองโคราช สะท้อนถึงว่าเคยเป็นแหล่งรวบรวมสิ่งทอจากที่ต่าง ๆ ปรากฏใน
            งานประพันธ์ร้อยกรองนิราศรถไฟโคราชที่แต่งขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๕ (ต้นรัชกาลที่ ๖)
            ในส่วนที่เดินเที่ยวย่านตลาดเมืองโคราชไว้ว่า “เห็นตามร้านมีแพรผ้าสาระพรรณ
            ค้าขายกันชุลมุนออกวุ่นวาย” (ฉาย กาญจนาฉายา, ๒๕๐๖ : ๑๖)
                จากงานนิพนธ์และประพันธ์ทั้งหมดจะเห็นได้ว่าโคราชมีผ้าทอหลากหลายรูปแบบ
            ทั้งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจ�าวันของกลุ่มชนต่าง ๆ และเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่ื้อขายแลกเปลี่ยน
            ที่ขึ้นชื่อมาตั้งแต่ในอดีต





















                                                               ผ้าหางกระรอก

                                      รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 77
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84