Page 80 - HistoryofNakornratchasima
P. 80
ผ้าหางกระรอก เป็นสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงมากจนไปถึงประเทศพม่า
ดังปรากฏความในพระนิพนธ์เรื่อง สาส์นสมเด็จ ตอนหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๘
ว่า “… ฉันเคยได้เค้าเมื่อไปเมืองนครราชสีมาครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เห็นชอบ
ทอผ้าไหมหางกระรอกกันแทบทุกบ้าน ถามเขาว่าทอกันมากมายเช่นนั้น
จะขายอย่างไร เขาบอกว่าฤดูแล้งมีพวกพม่ามาเที่ยวกว้านซึ่ื้อผ้าไหม
หางกระรอกเอาไปขายในเมืองพม่าทุกปี” (นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้า
และกรมพระยาด�ารงราชานุภาพ, ๒๕๑๒ : ๘๑)
การศึกษาของส�านักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ในหนังสือ “ผ้าพื้นเมืองอีสาน” ระบุไว้ว่า แต่โบราณการทอผ้าท้องถิ่นโคราช
จะนิยมทอผ้าไหมควบ หรือ ผ้าหางกระรอก ที่เป็นผ้าพื้นเมืองใช้มาแต่เดิม
โดยมีผ้าควบใช้ส�าหรับนุ่งทั้งหญิงและชาย ทั้งยังมีการทอผ้าขาวม้าตราตาราง
และผ้าไหมพื้น หรือผ้าดอกลายลูกแก้วเป็นผ้าเบี่ยงอีกด้วย นอกจากนี้
ตามอ�าเภอชายขอบที่อยู่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ จะมีประชากรที่อพยพเข้ามา
จากทั้งภาคกลาง ภาคอีสานตอนล่างและภาคใต้ จึงเกิดการน�าเอาลวดลาย
ของผ้าทอในกลุ่มชนตนเองมาผสมผสานกับลวดลายท้องถิ่น เกิดเป็นลวดลาย
ที่เป็นเอกลักษณ์ ของโคราชเองในแต่ละพื้นที่
ทั้งนี้จากการส�ารวจพบว่า กลุ่มทอผ้ามีการกระจายอยู่แถบทุกอ�าเภอ
ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่
- อ�าเภอปากช่อง มีการทอผ้าขาวม้าและผ้าห่ม โดยมีการระบุว่า
เดิมบรรพบุรุษอพยพย้ายมาจากบ้านทับผ้า อ�าเภอสีคิ้ว
- อ�าเภอสีคิ้ว มีกลุ่มที่ทอผ้านุ่งแบบยวนเป็นลายตามขวาง เรียกว่า
ซึ่ิ่นคั่น ต่างจากซึ่ิ่นคั่นของกลุ่มไทยอีสานที่เป็นลายตามยาวมากกว่า
- อ�าเภอปักธงชัย มีการทอผ้าแบบผ้าพื้น และผ้าไหมควบ หรือ
ผ้าหางกระรอกสีต่าง ๆ และผ้าไหมสีม่วง เรียกว่า ผ้าม่วง ใช้ส�าหรับ
ผู้ชายนุ่งโจงเวลามีงานพิธี หรือ ไปวัด
- อ�าเภอบัวใหญ่ เป็นแหล่งผลิตเส้นไหมส่งให้กับอ�าเภอปักธงชัย
(ส�านักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๕๒๓ : ๑๗๔)
นอกจากนี้ยังมีอ�าเภออื่น ๆ ได้แก่ อ�าเภอด่านขุดทด อ�าเภอเสิงสาง
อ�าเภอจักราช อ�าเภอครบุรี อ�าเภอคง อ�าเภอพิมาย อ�าเภอห้วยแถลง
อ�าเภอชุมพวง ทั้งหมดล้วนมีผ้าทอที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
แสดงถึงความหลากหลายของกลุ่มชนที่อพยพเข้ามายังบริเวณนครราชสีมา
(ส�านักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, ๒๕๔๐ : ๓๙-๔๔)
ผ้าทอไท-ยวน
78 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม