Page 75 - HistoryofNakornratchasima
P. 75
พ่อบุญสม สังข์สุข นายกสมาคมเพลงโคราช
ก�าลังแสดงเพลงโคราช
ณ บริเวณศาลาไม้ ในวัดศาลาลอย
ซอยท้าวสุระ ๓ ต�าบลในเมือง
อ�าเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แสดงเพลงโคราช หรือที่เรียกกันว่า “หมอเพลง” ทั้งชายและหญิง ในอดีตก่อน
ที่จะเริ่มเรียนรู้เพลงโคราช ผู้เป็นหมอเพลงจะต้องไปฝากตัวเป็นศิษย์กับครูเพลงเพื่อ
ให้ครูเพลงพิจารณาก่อนว่ามีคุณสมบัติพอที่จะเรียนรู้เพลงหรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มฝึกหัด
เป็นหมอเพลง ศิษย์ต้องยกครู โดยท�าพิธีบูชาครูด้วยเครื่องบูชาครู
การขึ้นแสดงเพลงโคราช ก่อนขึ้นเล่นเพลงจะต้องไหว้ครูเพลงก่อน รวมไปถึง
การยกครู หรือ การสวดคาถามหานิยม การแสดงมักต้องให้ผู้ชายขึ้นเวทีก่อนเสมอ ล�าดับ
การแสดงแบ่งเป็น ๓ ช่วงใหญ่ คือ ส่วนเริ่ม ส่วนใจความ และส่วนท้าย หรือส่วนจบ
ในส่วนเริ่ม ประกอบไปด้วย การประกาศ เพลงเชิญ เพลงท่วง เพลงถามข่าว
เพลงขออภัย เพลงไหว้ครู เพลงหากิน ในส่วนนี้ทั้งหมดจะนับเป็นการว่าเพลงในส่วนต้น
ที่จะมีการทักท้วง ไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบ ขออภัยล่วงหน้ากับการว่าเพลงที่จะเกิดขึ้นต่อไป
รวมไปถึงปรึกษาในเรื่องที่จะแสดงต่อไปด้วย
ส่วนใจความ ประกอบไปด้วย เพลงเรื่อง เพลงเกี้ยว เพลงชวน เพลงลองปัญญา
ซึ่ึ่งมีทั้งการเกี้ยวกันของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย การหยิบยกเรื่องจากวรรณคดี ชาดกและ
นิทานพื้นบ้านมากล่าวถึง รวมถึงการตอบโต้แสดงไหวพริบในการแสดงขึ้นยกหลังใหม่
ส่วนท้าย หรือส่วนจบ ประกอบไปด้วยเพลงเกี้ยว เพลงปลอบ เพลงจาก เพลง
คร�่าครวญ เพลงให้พร เพลงลา เป็นส่วนที่กล่าวถึงการกล่าวลาซึ่ึ่งกันและกัน ทั้งฝ่าย
ผู้แสดงชายและหญิง การกล่าวลาผู้ชม เจ้าภาพ อวยพรผู้มาชมการแสดง เป็นต้น (ภูวนารถ
สังข์เงิน, ๒๕๕๘ : ๑๘๐-๑๘๓)
ปัจจุบันเพลงโคราชได้แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาวโคราช
มีต้นรากที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมที่เข้ามาจากหลากหลายพื้นที่โดยรอบ ทั้งจากทางภาคอีสาน
และภาคกลาง ส่งผลให้เพลงโคราชที่อยู่ระหว่างสองพื้นที่ทางวัฒนธรรมมีการประสานและ
รับเอาวัฒนธรรมพื้นถิ่นเหล่านั้นมาผลิต และสร้างสรรค์การแสดงนี้ขึ้นจนเป็นรูปแบบ
ที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 73