Page 72 - HistoryofNakornratchasima
P. 72
ภาษาโคราช
ภาษาโคราช เป็นภาษาไทยส�าเนียงโคราช ในที่นี้อาจจะกินความหมายไปถึงความ
เป็นพื้นถิ่น ที่มีการดัดแปลง หยิบยืมใช้ค�าในการพูดประสมประสานทั้งจากไทย ลาว เขมร
ยวน มอญนั้น จนกลายมาเป็นภาษาโคราชที่ใช้กระจายในจังหวัดนครราชสีมา (ถาวร สุบงกช,
๒๕๒๑ : ๖๓)
ส�าเนียงโคราช มีรากเหง้าต้นทางมาจากส�าเนียงหลวงแบบกรุงศรีอยุธยา ภาษา
พูดเหน่อแบบลาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาไทย-ลาว โดยภายหลังจากการสถาปนาอ�านาจ
ของรัฐกรุงศรีอยุธยาเหนือพื้นที่โคราชได้ส�าเร็จภายหลังราวปี พ.ศ. ๒๐๐๐ เป็นต้นมา
มีการเกณฑ์ก�าลังคนจากลุ่มน�้าเจ้าพระยาต่างชาติพันธุ์หลายภาษาเคลื่อนย้ายเข้ามา
ตั้งถิ่นฐานในโคราช ทั้งมอญ เขมร และลาว เพื่อเป็นก�าลังพลในการสร้างบ้านแปงเมือง
และยึดครองพื้นที่โคราชภายใต้อ�านาจกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงมีภาษาไทยส�าเนียงเหน่อ
หรือส�าเนียงตามแบบสองฝั่งโขงติดเข้ามาจากคนเหล่านี้เป็นภาษากลางในการสื่อสาร
ซึ่ึ่งส�าเนียงเสียงแตกต่างจากภาษาไทยในปัจจุบัน (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๕๘ : ๑๘๐)
ข้อสังเกตการอ่านออกเสียงภาษาโคราช ค�าควบกล�้า ว. ไม่มีใช้ เห็นได้จาก
ตัวอย่างค�าว่า ไกว เป็น กวย / วัว-ควาย เป็น งัวควย เป็นต้น ข้อนี้เป็นที่น่าสังเกต
ภาษาไทยโคราช อาจมีอิทธิพลของกลุ่มค�าในภาษาลาว-อีสานเข้ามาปะปนแล้วด้วย
ดังเห็นได้จากการที่ชาวอีสาน-ลาว เรียก วัว-ควาย เป็น งัวควย เช่นกัน
แม้กระนั้น ในภาษาโคราช ตัว ร. ใช้ตามค�าสะกดตามอย่างไทย ไม่มีการเปลี่ยน
มาใช้ตัว ฮ. แทนตามอย่างลาว ยกตัวอย่าง ค�าว่า รัก ภาษาโคราชออกเสียงว่า รัก
แตกต่างจากภาษาลาว-อีสานที่ออกเสียงเป็น ฮัก เป็นต้น ซึ่ึ่งในข้อนี้สะท้อนถึงอิทธิพล
ของภาษาไทยตามอย่างภาษาไทยกลางที่มีอยู่ในภาษาโคราช (ถาวร ตีบงกช, ๒๕๒๑ : ๖๓)
นอกจากนี้ ยังมีค�าอื่น ๆ ที่น่าสังเกตว่าอาจจะมีรากที่มาจากภาษาลาว-อีสาน
ปะปนอยู่ในภาษาโคราชอีกมาก ยกตัวอย่างในตารางต่อไปนี้
ภาษาก่ล่าง ภาษาโคราช ภาษาล่าว-อีสาน ความหมาย
ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อเถ่า แม่เถ่า พ่อเฒ่า แม่เฒ่า ปู่ ย่า ตา ยาย
มาก โพด โพด หลาย ไม่น้อย เยอะ
ข้าวเหนียวนึ่ง ข้าวจี่ ข้าวจี่ ข้าวที่มีการน�าไป
ทาด้วยเกลือ ปิ้ง หรือย่าง
นะ เยอ เยอ ค�าใช้ประกอบ
ท้ายค�าอื่น
กินข้าว กิ๋นเข่า กินเข่า รับประทานข้าว
70 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม