Page 69 - HistoryofNakornratchasima
P. 69

ยวน-โยนก-ล้านนา                     กลุ่มเขมร

                ๓. เขมร เป็นกลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายมาจากบริเวณอีสานตอนใต้บริเวณจังหวัด
            สุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่ึ่งเป็นเขตพื้นที่ในเขตวัฒนธรรมเขมร
            ผสมผสานกับลาว หนีภัยทางการเมืองภายในราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ในสมัยรัชกาล
            ที่ ๓ เข้ามาตั้งถิ่นฐานยังพื้นที่อีสานตอนล่าง หรือ กลายเป็นพวกเขมรป่าดงที่กระจายตัว
            ไปยังพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดนครราชสีมา

                ๔. ลาว หรือไทยอีสาน เป็นกลุ่มคนที่อยู่
            ปะปนกับคนพื้นถิ่นอื่นมาแต่เดิม เนื่องจากโคราช
            เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับภาคอีสาน เมื่อบ้านเมือง
            ในอีสานขยายตัวหลังปี พ.ศ. ๒๓๐๐ เป็นต้นมา
            (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๔๙ : ๔๐๘-๔๐๙) จึงมีกลุ่ม
            ชนไทยอีสาน เข้ามาอยู่ปะปนมากยิ่งขึ้นในพื้นที่
            จังหวัดนครราชสีมา จากเดิมที่มีกลุ่มชนไทยอีสาน
            อาศัยปะปนอยู่ก่อนแล้ว หลักฐานเชิงประจักษ์
            ในข้อนี้ คือ หลักฐานทางโบราณคดีและศิลปกรรม
            ตามอย่างวัฒนธรรมลาวที่กระจายอยู่แทบทุก
            อ�าเภอในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา อาทิเช่น
            อุโบสถในวัดตะคุ อ�าเภอปักธงชัย เป็นต้น ซึ่ึ่งมี
            การออกแบบทางศิลปกรรมตามแบบไทยอีสาน
            เป็นงานศิลปกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                                                                 กลุ่มชนลาว-อีสาน



                                      รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 67
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74