Page 64 - HistoryofNakornratchasima
P. 64
ต่อมามีการสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปชุมทางบ้านภาชี ผ่านเข้าสู่ป่าดงพญาเย็น
ซึ่ึ่งเป็นช่วงที่ด�าเนินการยากล�าบากมาก กว่าจะเสร็จถึงเป้าหมายก็ใช้ระยะเวลา ๙ ปีเต็ม
รวมระยะทาง ๒๖๕ กิโลเมตร ใช้เงินก่อสร้าง ๑๗,๕๘๕,๐๐๐ บาท ถือว่าเป็นเงินจ�านวน
มากในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชด�าเนินไปเปิด
รถไฟที่นครราชสีมาเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ อนึ่ง ความกว้างของรางรถไฟ
สายนครราชสีมานี้ ใช้ขนาดมาตรฐานที่ดีที่สุดของโลกขณะนั้น คือ ๑.๔๓๕ เมตร
ด้วยประสิทธิภาพที่สูงมากของหัวรถจักรลากจูงขบวนรถไฟ ท�าให้ปริมาณสินค้า
เข้า-ออกภาคอีสานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนสร้างทางรถไฟมีสินค้าเข้า-ออกภาคอีสาน
ปีละ ๑,๘๐๐-๒,๔๐๐ ตัน เมื่อมีทางรถไฟมาถึงโคราชในปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ปริมาณ
สินค้าก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น ๒๒,๕๖๕ ตัน หรือ ๑๐.๗ เท่า และเพิ่มปริมาณมากขึ้น
ในปีต่อไป การขนส่งรูปแบบใหม่นี้ได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจเมืองนครราชสีมาและภาคอีสาน
ไปอย่างรวดเร็ว
การมาของรถไฟท�าให้ชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟขยายตัวเป็นชุมชนเมือง
มีการตั้งตลาด และชุมชนการค้า การค้าขยายตัวอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น เมืองนครราชสีมา
(โคราช) ซึ่ึ่งเดิมเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองและศูนย์กลางการคมนาคมด้วยเกวียน
อยู่ด้วยแล้วตั้งแต่ก่อนมีทางรถไฟ เมื่อรถไฟมาถึงโคราช ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๓ โคราช
จึงกลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภาคอีสานอย่างแท้จริง ผู้คนทั้งอีสานเหนือ อีสานกลาง
และอีสานใต้ต้องเดินทางมาขึ้นรถไฟที่โคราช
การเปิดใช้ทางรถไฟสายอีสานส่วนแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมานี้ นับเป็นการปฏิวัติ
การคมนาคมทางบกของไทย เพราะรถไฟ ๑ ขบวนบรรทุกเท่ากับเกวียน ๙๐๙-๑,๘๑๘ เล่ม
แล่นเร็วกว่าเกวียนประมาณ ๑๘ เท่า ปริมาณสินค้าและชนิดสินค้าที่เข้า-ออกภาคอีสาน
เพิ่มมากขึ้น เกิดการผลิตเพื่อขาย การขยายตัวของชุมชนการค้า การย้ายสถานที่ราชการ
มาใกล้สถานีรถไฟ มีอาชีพใหม่เกิดขึ้นมากมาย จนอาจกล่าวได้ว่าหากสนธิสัญญาเบาริ่ง
สมัยรัชกาลที่ ๔ ท�าให้เกิดระบบทุนนิยมในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือตอนล่างฉันใด
ทางรถไฟสายนครราชสีมาใน
สมัยรัชกาลที่ ๕ ท�าให้เกิดทุนนิยมใน
ภาคอีสานได้ฉันนั้น (สุวิทย์ ธีรศาศวัต,
๒๕๕๐ : ๑๑๓-๑๒๕)
การคมนาคมระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน
ก่อนมีการสร้างทางรถไฟนั้น
มีลักษณะทุรกันดาร
การเสด็จตรวจราชการของเจ้านาย
จึงต้องเดินทางด้วยกองคาราวานเกวียน
62 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม