Page 81 - HistoryofNakornratchasima
P. 81

เรือนโคราช

                เรือนโคราช เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่ส�าคัญของชาวโคราช มีลักษณะเด่น
            คือ การท�าหลังคาจั่วเดียวถึงสามจั่ว และการท�าฝาเรือนถอดประกอบรูปแบบฝาตั้ง ฝานอน
            และฝาปรือ ทั้งนี้ ยังคงมีลักษณะร่วมกันกับเรือนพื้นถิ่นอื่น ๆ ที่เป็นเรือนชั้นเดียว
            ยกใต้ถุนสูง โครงสร้างไม้ทั้งหลัง หรือ ผสมไม้ไผ่ หลังคาท�าด้วยกระเบื้องดินขอ แป้นไม้
            หรือมุงด้วยหญ้า เรือนนอนมักมีขนาดใหญ่ โดยมีพื้นที่ใช้สอยภายในประกอบด้วย เรือนนอน
            ชานมีหลังคาคลุม ชานแดด และเรือนไฟ (ธนิศร์ เสถียรนาม และนภดล ตั้งสกุล, ๒๕๕๙ :
            ๖-๗) ท�าให้ทราบได้ว่าในอดีต พื้นที่บริเวณโคราช เคยมีเรือนพื้นถิ่นประเภทเรือนปลูกคู่โดย
            มีชานแล่นถึงกันเช่นกัน  ปัจจุบันพบเป็นจ�านวนน้อย  แต่สามารถพบได้ในแถบบริเวณ
            อีสานตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ ไปจนถึงจังหวัด
            ศรีสะเกษได้เช่นกัน (ศรีศักร วัลลิโภดม, ๒๕๔๓ : ๖๗-๖๘)
























                             เรือนโคราช













                                                        ลักษณะการออกแบบเรือนโคราช
                                   เป็นเรือนแฝดที่มีเรือนนอน ๒ หลังขนานกัน มีชาน หรือโถงกั้นกลาง
                                                    เป็นลักษณะเด่นแตกต่างจากเรือนทั่วไป

                                      รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 79
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86