Page 57 - HistoryofNakornratchasima
P. 57
สมัยรัตนโก่สินทร์ตอนต้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) เสวยราชสมบัติ
และก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทรงเล็งเห็นถึงความดีความชอบของพระยาสุริยอภัย
พระเจ้าหลานเธอผู้เคยเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น
เป็น “สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์” ด�ารงพระยศในต�าแหน่งกรมพระราชวัง
บวรสถานภิมุข หรือ วังหลังในสมัยรัชกาลที่ ๑
หลังจากนั้น รัชกาลที่ ๑ ทรงแต่งตั้งพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ขึ้นเป็นเจ้าเมือง
นครราชสีมาสืบแทน ซึ่ึ่งพระยาผู้นี้เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูล “ณ ราชสีมา” อันเป็นการ
เริ่มการสืบทอดอ�านาจเจ้าเมืองในสายตระกูล ณ ราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๘๘
โดยเริ่มจากท่านปิ่น ตามด้วยเที่ยงและทองอินท์ ซึ่ึ่งสืบเชื้อสายของ พระยานครราชสีมา
ตามสายตระกูล ตระกูล ณ ราชสีมา มีบทบาทในการเมืองช่วงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๘๘ อย่างต่อเนื่อง เพราะบทบาทของเจ้าเมืองนครราชสีมา
เป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านการทหาร มีความส�าคัญในฐานะเป็นฐานก�าลังส�าคัญ
ของราชส�านักกรุงเทพฯ ทั้งในการควบคุมดูแลผลประโยชน์ทางการเมือง และเศรษฐกิจ
ภายในภูมิภาคอีสาน - ลาว นอกจากนั้นยังเป็นฐานก�าลังในการเป็นหน้าด่านป้องกัน
การรุกรานเขมร เจ้าเมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นผู้ดูแลหัวเมืองอีสาน และประเทศราช
ลุ่มแม่น�้าโขงด้วย แต่ภายหลังที่พระยานครราชสีมา (ทองอินท์) ถึงแก่อสัญกรรม ราชส�านัก
กรุงเทพฯ จึงเข้ามาควบคุมอ�านาจโดยการแต่งตั้งขุนนางจากเมืองหลวงมาเป็นเจ้าเมือง
นครราชสีมาแทนที่การสืบตระกูล (ขจีรัตน์ ไอราวัณวัฒน์, ๒๕๓๒ : ๕๕)
บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในอดีต
ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 55