Page 52 - HistoryofNakornratchasima
P. 52

สมัยธนบุรี


            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับ กรมหมื่นเทพพิพิธ
                บุคคลส�าคัญผู้มีบทบาทในประวัติศาสตร์เมืองนครราชสีมาปลายสมัย-
            กรุงศรีอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี คือ “กรมหมื่นเทพพิพิธ” พระราชโอรสองค์หนึ่ง
            ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่ึ่งเคยช่วยสนับสนุนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรให้ขึ้นเสวยราชย์
            แต่ในภายหลังต้องโทษฐานกบฏต่อสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงถูกบังคับให้ผนวช และ
            ถูกเนรเทศออกนอกราชอาณาจักรไปยังเกาะลังกา แต่กรมหมื่นเทพพิพิธยังทรงมีบทบาท
            ทางการเมืองอยู่ สุดท้ายจึงถูกกษัตริย์ลังกาเนรเทศให้กลับมายังสยาม
                กรมหมื่นเทพพิพิธทรงมีบทบาทส�าคัญทางการเมืองในช่วงระยะแรกของ
            สมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากพระองค์ได้ขึ้นมายังพื้นที่เมืองนครราชสีมาในช่วงเวลาเดียวกัน
            กับที่กรุงศรีอยุธยาเสียเมืองให้แก่พม่า ซึ่ึ่งถือว่าสิ้นพระราชวงศ์บ้านพลูหลวงที่ปกครอง
            อาณาจักรอยุธยาแล้ว ผู้น�าท้องถิ่นที่เมืองพิมายในเวลานั้นเห็นช่องทางฟื้นฟูอ�านาจ
            จึงได้ยกอ�านาจให้กรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นใหญ่ ด้วยความเป็นพระบรมวงศานุวงศ์
            กรุงเก่า เรียกว่า “เจ้าพิมาย” มีอ�านาจดั่งกษัตริย์เหนืออาณาเขตเมืองนครราชสีมา
            ทั้งหมด เป็นที่รู้จักในชื่อ “ชุมนุมเจ้าพิมาย” กรมหมื่นเทพพิพิธเมื่อมีอ�านาจจึงทรงตั้ง
            เจ้าเมืองพิมายเดิมเป็นเสนาบดีใหญ่ ตั้งเมืองพิมายเป็นศูนย์กลางการปกครอง หมายจะ
            แยกตัวจากอาณาจักรกรุงธนบุรี ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงก�าลังฟื้นฟู
            พระราชอ�านาจอยู่ (นิธิ เอียวศรีวงศ์, ๒๕๕๙ : ๑๕๕)
                เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกทัพขึ้นมาปราบชุมนุมเจ้าพิมายของ
            กรมหมื่นเทพพิพิธจนส�าเร็จ ได้จับกุมกรมหมื่นเทพพิพิธแล้วส่งลงมาส�าเร็จโทษยัง
            กรุงธนบุรี ซึ่ึ่งในช่วงหลังจากปราบชุมนุมเจ้าพิมาย มีการย้ายศูนย์กลางการปกครอง
            จากเมืองพิมายกลับมาที่เมืองนครราชสีมาอีกครั้ง
                ในสมัยกรุงธนบุรี เมืองนครราชสีมาเริ่มมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
            เมื่อกรุงธนบุรีขยายอ�านาจออกไปถึงสองฟากแม่น�้าโขงชนดินแดนกัมพูชาแล้ว จึงให้
            เมืองนครราชสีมาปกครองเหล่าหัวเมืองที่ได้มาใหม่ ก่อนที่จะเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี
            ช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เจ้าเมืองนครราชสีมาในเวลานั้น คือ
            พระยาสุริยภัย เป็นหลานของเจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก-
            มหาราช) พระยาสุริยอภัยมีนามเดิมว่า “ทองอิน” เป็นบุตรคนโตของสมเด็จพระพี่นางเธอ
            พระองค์ใหญ่ (สา) เป็นก�าลังส�าคัญในการน�าทัพลงไปยึดอ�านาจกรุงธนบุรีเพื่อคอย
            ท่าเจ้าพระยาจักรี และเจ้าเมืองท่านนี้ได้มีบทบาทส�าคัญอย่างยิ่ง ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน
            จากยุคกรุงธนบุรีสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์





        50 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57