Page 47 - HistoryofNakornratchasima
P. 47

ภายหลังสิ้นสุดรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์-
                                      มหาราช และสมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชย์นั้น
                                      เมืองนครราชสีมาต้องตกอยู่ในความวุ่นวาย เจ้าเมือง
                                      นครราชสีมาในเวลานั้นคือ พระยายมราช (สังข์)
                                      ตั้งแข็งเมืองป้องกันอยู่ยังคงภักดีต่อสมเด็จพระ-
                                      นารายณ์มหาราช ดังนั้นสมเด็จพระเพทราชาจึง
                                      ต้องยกทัพขึ้นมาปราบพระยายมราช ซึ่ึ่งก็มิอาจ
                                      ต้านทานทัพจากเมืองหลวงได้ สุดท้ายพระยายมราช
                                      หนีลงไปยังเมืองนครศรีธรรมราชและถูกปราบ
                                      ในที่สุด ต่อมาทางราชส�านักกรุงศรีอยุธยาจึงได้
                                      แต่งตั้งเจ้าเมืองนครราชสีมาคนใหม่เพื่อปกครอง
                                      บ้านเมือง ต่อมามีเหตุการณ์วุ่นวาย คือ กบฏบุญกว้าง
                                      ในปี พ.ศ. ๒๒๓๕ บุญกว้างเป็นชาวบ้านที่ตั้งตน
                                      เป็นผู้วิเศษมีวิชาอาคม จะเข้ายึดเมืองนครราชสีมา
                                      จากเจ้าเมือง เจ้าเมืองนครราชสีมาเองลงไปขอ
                                      กองทัพกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาช่วยจนสามารถปราบ
                                      กบฏบุญกว้างได้ส�าเร็จ ต่อมาเมืองนครราชสีมา
                                      จึงเข้าสู่ความสงบเรียบร้อย (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๕๘
                                      : ๑๙๘-๒๐๗)
                                          ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ นครราชสีมา
                                      ได้พัฒนาและเจริญขึ้นอย่างมาก เห็นได้ว่าเมืองนี้
                                      เป็นแหล่งรวบรวมสินค้า และเป็นศูนย์กลางทาง
                                      เศรษฐกิจส�าคัญเพื่อส่งผลิตผลลงสู่กรุงศรีอยุธยา
                    ประตูชุมพลในปัจจุบัน
        ตั้งอยู่ที่ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  เมืองท่านานาชาติในเวลานั้น มีการน�าสินค้าต่าง ๆ
                                      จากเมืองนครราชสีมาบรรทุกเกวียนลงไปยัง
                                      กรุงศรีอยุธยา มีย่านพ�านักอยู่ที่บ้านศาลาเกวียน
                                      นอกเกาะเมืองอยุธยาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
                                      สินค้าส�าคัญจากนครราชสีมา ได้แก่ น�้ารัก ขี้ผึ้ง
                                      ผ้าตาราง ปีกนก หนังเนื้อ ครั่ง ไหม ก�ายาน ดีบุก
                                      หน่อ งา และของป่าต่าง ๆ เป็นต้น (กรมศิลปากร,
                                      ๒๕๕๘ : ๕๙)





                                      รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 45
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52