Page 42 - HistoryofNakornratchasima
P. 42
สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๙๑)
มีการค้นพบศิลาจารึกหลักใหม่
หลักหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นที่รู้จัก
ในชื่อว่า “จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ”
เป็นแท่งศิลารูปทรงคล้ายใบเสมาปลาย
แหลมและหนา มีความสูงประมาณ ๙๐.๘
เซึ่นติเมตร พบจารึกนี้บริเวณเชิงเขาเหวตาบัว
ต�าบลห้วยบง อ�าเภอด่านขุนทด จังหวัด
นครราชสีมา ปัจจุบันได้ถูกเคลื่อนย้ายไปเก็บ
รักษาที่วัดบ้านฉางประชานิมิต ต�าบลเขาน้อย
อ�าเภอล�าสนธิ จังหวัดลพบุรี ข้อความกล่าวถึง
บทบาทของกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกพยายาม
เข้ามาควบคุมบ้านเมืองในดินแดนลุ่มแม่น�้า
มูลที่เคยรุ่งเรืองภายใต้อารยธรรมขอมมาก่อน
จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ
ตั้งอยู่ที่ วัดบ้านฉางประชานิมิต ต�าบลเขาน้อย
อ�าเภอล�าสนธิ จังหวัดลพบุรี
จารึกหลักนี้มีข้อความ ๒ ด้าน คือ ด้านที่ ๑ มีทั้งเป็นอักษรไทย - ภาษาไทย และ
ส่วนปลายเป็นอักษรเขมร - ภาษาเขมร ด้านนี้มีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ กล่าวถึง
“สมเด็จพระอินทรามหาบรมจักรพรรดิธรรมิกราช” มีพระราชโองการให้ “ขุนศรีไชย-
ราชมงคลเทพ” และขุนนางทั้งหลายยกกองทัพไปตีเมืองพิมายและพนมรุ้ง เมื่อท�าการ
ส�าเร็จเป็นที่เรียบร้อยตามพระราชประสงค์ จึงมีรับสั่งให้ขุนนางทั้งหลายกลับ
กรุงศรีอยุธยา เมื่อถึงบรรณศาลาที่ประดิษฐานศิลาจารึกประกาศเกียรติยศตั้งขุนศรี-
ไชยราชมงคลเทพมีสร้อยนามว่า “เอกมนตรีพิเศษ” ในวันขึ้นสิบเอ็ดค�่า เดือนสิบสอง
ปีกุน ส่วนด้านที่ ๒ เป็นข้อความอักษรเขมร - ภาษาเขมร มี ๒๗ บรรทัด แต่ด้านนี้
สึกกร่อนมากไม่สามารถอ่านจับใจความได้
จากข้อความบนจารึกหลักนี้ กรุงศรีอยุธยาได้ยกกองทัพไปตีเมืองพิมายและ
พนมรุ้งถึง ๒ ครั้งแม้ทั้งสองเมืองจะอยู่ภายใต้อาณาบารมีของกรุงศรีอยุธยา แต่กลับ
กระด้างกระเดื่องเป็นเหตุให้ยกทัพไปตีเมือง (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, ๒๕๖๒ : ๑๑๐-๑๒๔)
40 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม