Page 44 - HistoryofNakornratchasima
P. 44

สมัยอยุธยาตอนก่ล่างแล่ะตอนปล่าย (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๓๑๐)

                 ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ทรงมี
            พระวินิจฉัยเกี่ยวกับเมืองนครราชสีมาเดิมตั้งอยู่ที่บริเวณเมืองเสมา อย่างไรก็ตาม
            จากในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการตั้งเมืองนครราชสีมาว่าจะเกิดขึ้น
            ในช่วงระยะเวลาใด
                 จากหลักฐานของเอเตียน อาโมนิแยร์ได้กล่าวถึงต�าแหน่งเมืองโคราชเก่าอยู่
            บริเวณตอนเหนือของสองเนิน (สูงเนินในปัจจุบัน) รวมถึงในนิราศหนองคายระบุว่า
            เมืองนครราชสีมาเดิมอยู่ที่บริเวณเมืองเสมา ซึ่ึ่งข้อมูลทั้ง ๒ นี้ตรงกับข้อพระวินิจฉัยของ
            สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ประกอบกับการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า
            ในชั้นวัฒนธรรมที่ ๒ พบเศษภาชนะระบุปีรัชศกหว่านลี่ของราชวงศ์หมิง ซึ่ึ่งจักรพรรดิ
            พระองค์นี้เสวยราชสมบัติตรงกับรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชจนถึง
            สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ด้วยเหตุนี้จึงท�าให้เชื่อได้ว่าชั้นวัฒนธรรมที่ ๒ คือ ชั้นดิน
            ในช่วงก่อนสถาปนาวัดพระนารายณ์มหาราช (ทรงวุฒิ ธรรมขันติพงศ์, ๒๕๖๒ : ๑๒๕-๑๓๖)
                 ดังนั้นถ้าพิจารณาจากชั้นวัฒนธรรมที่ ๒ ไม่น่ามีอายุเก่ากว่ากลางพุทธศตวรรษ
            ที่ ๒๒ ด้วยเหตุนี้จึงตีความบริเวณเมืองนครราชสีมาในปัจจุบันน่าจะเป็นต�าแหน่งเมือง
            ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้น



























            แผนที่ชุมชนและเมืองนครราชสีมา
            ที่มา หนังสือ Le Cambodge ของ เอเตียน อาโมนิแยร์ พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๑
            จะเห็นว่าในแผนที่ลงต�าแหน่ง โคราชเก่า (Korat kao, Vieux Korat) ใกล้กับอ�าเภอสูงเนิน
            ซึ่งต�าแหน่งโคราชเก่านี้ คือ ต�าแหน่งของแหล่งโบราณคดีเมืองเสมาในปัจจุบัน


        42 รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49