Page 45 - HistoryofNakornratchasima
P. 45
การสร้างก�าแพงเมืองนครราชสีมาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราวปี พ.ศ. ๒๒๐๐ ในรัชสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรง
โปรดฯ ให้ย้ายเมืองโคราชเก่าโดยให้
นายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้สร้าง
เมืองใหม่ตั้งอยู่บริเวณชายดงและทุ่ง
ปัจจุบันคือ อ�าเภอเมืองนครราชสีมา
ปรากฏค่ายคูประตูหอรบมีนามประตู
เมืองว่า ประตูพลแสน (ประตูทิศเหนือ)
ประตูพลล้าน (ประตูทิศตะวันออก)
ประตูชัยณรงค์ (ประตูทิศใต้) และ
ประตูชุมพล (ประตูทิศตะวันตก) ยัง
หลงเหลือหลักฐานบางส่วน (เติม ภาพถ่ายประตูชุมพลในอดีต
วิภาคย์พจนกิจ, ๒๕๓๐ : ๕) ที่มา : ส�านักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
เจมส์ แมคคาร์ธี หรือ พระวิภาคภูวดล เจ้ากรมแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้บันทึกเรื่อง
ก�าแพงเมืองและประตูเมืองโคราชไว้ว่า “จากเหนือถึงใต้ก�าแพงเมืองมีความยาว ๕,๔๐๐ ฟุต
จากตะวันออกถึงตะวันตก มีความยาว ๓,๒๐๐ ฟุต ทางทิศใต้มีป้อมปราการขนาดเล็ก แต่ละป้อม
มีช่องอยู่ ๑๕ ช่อง ตลอดก�าแพงมีช่องทั้งหมด ๑,๔๐๐ ช่องขนาดเล็ก (loop-holes) และมี ๑๓ ช่อง
เอาไว้พาดปืนใหญ่ (crenelles) ทางด้านทิศเหนือมีป้อมปราการสี่ป้อม มีช่องขนาดเล็ก ๑,๑๐๗ ช่อง
และช่องยิงปืนใหญ่ ๖๐ ช่อง ทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกมีป้อมสองป้อม และมีช่อง
ขนาดเล็ก ๘๖๑ ช่องตลอดก�าแพง ก�าแพงถูกห่อหุ้มด้วยดินที่หนา ฐานมีความสูงประมาณ ๑๕ ฟุต
จากระดับถนน เมืองโคราชมีคูน�้าคันดินล้อมรอบยาวประมาณ ๒๐๐ ฟุต” (เจมส์ แมคคาร์ธี,
๑๙๙๔ : ๒๖) นอกจากนี้ เอเตียน อาโมนิแยร์ นักส�ารวจชาวฝรั่งเศสก็เคยบันทึกไว้ว่า “เมืองโคราช
เป็นเมืองที่มีพรมแดนธรรมชาติ เป็นภูเขากั้นและมีความรุ่งเรืองในอดีต ดังเห็นได้จากป้อม
ปราการที่ล้อมรอบในเมืองนั้นบ้านเรือนส่วนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตก โดยมีก�าแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ล้อมรอบ มีความหนาประมาณ ๒ เมตร และสูง ๓-๔ เมตร วัดรวมกันได้ ประมาณ ๕ กิโลเมตร
มีประตูอยู่ตรงกลางของแต่ละด้าน โดยยังคงมีคูน�้ากว้างประมาณ ๑๐ เมตร อยู่ในสภาพกึ่งจะพัง”
(เอเตียน อาโมนิแยร์, ๑๙๙๙ : ๖)
แผนผังเมืองนครราชสีมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๑,๐๐๐ x ๑,๗๐๐ เมตร มีก�าแพง
และคูเมืองล้อมรอบมีประตูเมืองอยู่ตรงกลางแนวก�าแพงทั้งสี่ด้าน หลักฐานของก�าแพงเมือง
ที่ปรากฏและมีการขุดแต่งบูรณะในปัจจุบัน ได้แก่ แนวก�าแพงเมืองด้านทิศตะวันตก และแนว
ก�าแพงเมืองบริเวณมุมเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 43