Page 43 - HistoryofNakornratchasima
P. 43
ที่มาของนามเมือง “นครราชสีมา” และ “โคราช”
กฎมณเฑียรบาล ที่เชื่อว่าตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา
กล่าวถึงหัวเมืองส�าคัญระดับ “เมืองพญามหานคร” จ�านวน ๘ เมืองที่ถือน�้าพระพัทธ (พิพัฒน์สัจจา)
ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา หนึ่งในจ�านวนนั้นคือ “เมืองนครราชสีมา” ตรงกับกฎหมายอีกฉบับคือ
พระไอยการนาทหารหัวเมือง ซึ่ึ่งกล่าวถึงต�าแหน่งเจ้าเมืองว่า “ออกญาก�าแหงสงครามรามภักดี
พีริยะภาหะ เมืองนครราชศรีมา เมืองโท นา ๑๐,๐๐๐” (กฏหมายตราสามดวง เล่ม ๑, ๒๕๓๗ :
๗๐, ๓๒๐) กฎหมายชุดนี้น่าจะเป็นเอกสารรุ่นแรกสุดที่กล่าวถึงนามเมืองนครราชสีมาอย่าง
เป็นทางการว่านาม “นครราชสีมา” มีข้อความกล่าวถึงเมืองหนึ่งที่มีการสถาปนาขึ้นในวันเสาร์
เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค�่า ชวดนักษัตรศก ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม จ.ศ. ๘๓๐ หรือ พ.ศ. ๒๐๑๑
เป็นวันสถาปนาเมืองนครราชสีมา และปรากฏนามเมืองนครราชสีมาเป็นครั้งแรก ดังนั้นในปี
พ.ศ. ๒๕๖๓ นครราชสีมาจึงมีอายุเมือง ๕๕๒ ปี
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่าง ๆ มีการสะกดชื่อเมืองนี้แตกต่างกันไป เช่น
“เมืองณครราชศรีมา, เมืองนครราชศรีมา, เมืองณะครราชศรีมา, เมืองนครราชษรีมา” เป็นต้น
(ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๒, ๒๕๔๒ : ๒๒๖, ๒๔๖, ๒๔๗) ยังคงค�าอ่านที่
ออกเสียงเหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ในอดีต มักจะยังไม่มีระบบการ
สะกดค�าเป็นมาตรฐาน จึงนิยมสะกดให้ตรงกับเสียงอ่านเป็นหลักโดยอาจใช้อักษรต่างกันได้ เช่น
เดียวกับจารึกข้อความที่คอสองพระระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่ึ่งมีจารึกชื่อหัวเมือง
ส�าคัญที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็ปรากฏนามเมือง “นครราชเสมา”
(ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน, ๒๕๕๔ : ๒๗๗) ค�าว่า “สีมา” และ “เสมา” มีความหมายว่า
“เขต, แดน” ดังนั้นชื่อเมืองนครราชสีมา หรือนครราชเสมา จึงหมายถึงเมืองที่เป็นขอบเขตชายแดน
หรือ เป็นชายแดนของราชอาณาจักร ตรงกับข้อมูลจากกฎมณเฑียรบาลที่กล่าวถึงเมืองพระยา-
มหานครทั้ง ๘ เมือง ซึ่ึ่งต้องถือน�้าพระพัทธ โดยที่หัวเมืองดังกล่าวล้วนเป็นเมืองที่อยู่ชายขอบ
เขตอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ (๒๕๐๑ : ๑๙๘-๒๐๐) ทรงมีพระวินิจฉัยเกี่ยวกับ
ชื่อเมืองนครราชสีมาว่า เดิมเมืองนครราชสีมามีเมืองเก่า คือ “เมืองเสมา” อยู่ทางฝั่งซึ่้ายของ
ล�าตะคอง ต่อมาได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ทางฝั่งขวาของล�าตะคอง คือ “เมืองโคราฆปุระ”
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้างเมืองใหม่อีกแห่งบริเวณที่มีก�าแพงเมืองล้อมรอบ
จึงมีการดัดแปลงเอาชื่อเมืองเดิมทั้ง ๒ เมือง คือ เสมา และโคราฆปุระ ผนวกเข้าด้วยกันเป็นชื่อ
“เมืองนครราชสีมา” อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานที่มาชื่อโคราฆปุระจากการด�าเนินการ
ทางโบราณคดีพบเพียงแต่ปราสาทในอารายธรรมขอมบางแห่งที่ตั้งอยู่พื้นที่ใกล้เคียงเมืองเสมา
ซึ่ึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยทวารวดีเท่านั้น (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๘๑)
ส่วนชื่อเมือง “โคราช” ซึ่ึ่งเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันทั่วไปมาแต่เดิมนั้น เมืองที่ขึ้นชื่อน�าหน้าว่า
“นคร” มีหลายเมือง และมักนิยมเรียกตัดให้สั้นลงว่า “เมืองคอน” โดยที่เมืองนครราชสีมานี้ คงจะ
ถูกเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า “คอนราช” เพื่อให้ต่างจากเมืองนครพนม
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 41