Page 176 - วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ
P. 176

วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชำานัญพิเศษ




                    สําหรับประเด็นการละเมิดโดยอ้อม (secondary infringement) ประเภทแรกเรียกว่า
            contributory infringement ซึ่งหมายถึงการสนับสนุนให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์สามารถเผยแพร่งานอัน
                                                  ี
                            ั
                        ิ
            ละเมิดลิขสิทธ์ได้น้น ศาลวินิจฉัยว่ามีโอกาสท่ Google จะเป็นผู้สนับสนุนได้ หากปรากฏข้อเท็จจริง
                                                         9
            ว่า Google มีเจตนาสนับสนุนให้มีการละเมิดเกิดขึ้น  กล่าวคือ รู้ว่ามีงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ปรากฏ
                                                                       10
                                                  ั
                                                                                 ื
            บนเว็บไซต์ของตนและละเลยไม่เอางานน้นออกจากผลการค้นหา  แต่ในเร่องน้ข้อเท็จจริง
                                                                                     ี
            ยังไม่เพียงพอให้วินิจฉัย จึงได้ย้อนสํานวนให้ศาลล่างวินิจฉัยเสียก่อน  สําหรับการกระทําโดย
                                                                         11
            อ้อมอีกประการหนึ่งนั้นเรียกว่า vicarious infringement กล่าวคือ มีการหากําไรจากการละเมิด
            โดยตรงและละเลยไม่ห้ามหรือจํากัดการละเมิดนั้น อย่างไรก็ดีตามหลักกฎหมายเรื่อง vicarious
                                                      ื
            infringement แล้ว Google จะมีส่วนผิดได้ก็ต่อเม่อ Google มีความควบคุม (control) คือ สามารถ
            ระงับหรือปิดเว็บไซต์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ในเรื่องนี้นั้นไม่ปรากฏว่า Google มีสิทธิหรือ

            มีความสามารถที่จะปิดเว็บไซต์ของบุคคลที่สามได้ 12
                    นอกจากประเด็นในเรื่อง thumbnails และ linking แล้ว ศาลยังวินิจฉัยการกระทําของ

                                   ั
                                 ึ
                                                           ี
                                                                                        ี
            Google อีกประการหน่งน่นคือการ framing ในคดีน้ว่าเป็นการแสดง (display) งานท่มีขนาด
            ต้นฉบับ (full-size) หรือไม่ เพราะนอกจากภาพตัวอย่างแล้ว หากผู้ใช้งานคลิกไปที่ภาพตัวอย่าง
            ก็จะปรากฏภาพเต็มขนาดต้นฉบับ (full-size) ขึ้นในเพจของ Google ซึ่งการแสดงภาพเต็มขนาด
                           ี
                                                   ั
            ต้นฉบับบนเพจน้เองถือว่าเป็นการ framing ท้งน้ ในปัญหาดังกล่าวศาลวินิจฉัยโดยใช้หลัก server
                                                      ี
            test เช่นเดียวกัน กล่าวคือ การ framing โดยอาศัยแหล่งข้อมูล (source) ของเว็บไซต์ที่แสดงงาน
                              ํ
            นั้นโดยไม่มีการทําซาหรือบันทึกข้อมูลของงานดังกล่าวลงใน Server ของ Google จึงไม่ถือว่า
                              ้
            Google ละเมิดสิทธิ right to display  ซึ่งการให้เหตุผลทํานองนี้นั้นแสดงให้เห็นว่าการกระทําที่
                                            13
            จะมีการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงได้ในสหรัฐอเมริกาได้นั้นอย่างน้อยจะต้องปรากฏว่ามีการบันทึก
            ข้อมูลของงานอันมีลิขสิทธิ์ลงในหน่วยจัดเก็บข้อมูล (hard drive) ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ








                    9   “[o]ne infringes contributorily by intentionally inducing or encouraging direct infringement,” Metro-Goldwyn-
            Mayer Studios Inc. v. Grokster, Ltd., 545 U.S. 913, 125 S. Ct. 2764, 162 L. Ed. 2d 781 (2005)
                    10   แม้ Google จะไม่สามารถระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยตรง แต่ Google ก็มีความสามารถ
            ในฐานะที่เป็นสื่อกลาง (intermediary) ที่จะระงับไม่ให้บุคคลเข้าถึงเว็บไซต์ดังกล่าวผ่านการค้นหาของ Google ได้ ซึ่งเป็นการ
            ปฏิบัติตาม Digital Millennium Copyright Act ของสหรัฐอเมริกา
                    11   Perfect 10, Supra note 6 at 1173
                    12   Perfect 10, Supra note 6 at 1175
                    13   Perfect 10, Supra note 6 at 1160



            174
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181