Page 201 - วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ
P. 201

ฉบับพิเศษ ประจำ�ปี 2564




                                                           ื
            แสดง “เหตุผลแห่งความจําเป็น” ให้ปรากฏต่อศาลเพ่อให้เข้าข้อยกเว้นให้รับฟังพยานบอกเล่า
            ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) (เทียบเคียงหมายเหตุท้ายคําพิพากษาศาลฎีกาที่
            7013/2556; จรัญ ภักดีธนากุล, 2561)



            4.  การรับฟังพยานแวดล้อม (状況証拠)ในความผิดการตกลงร่วมกันและกรณี
            ศึกษาของประเทศญี่ปุ่น


                                             ี
                    การตกลงร่วมกันในประเทศญ่ปุ่นอยู่ภายใต้กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antimonopoly
                                 1
            Act : AMA)  มาตรา 3  โดยมาตรา 2 (6) กําหนดนิยามเกี่ยวกับ “การร่วมกันจํากัดการแข่งขัน
            โดยปราศจากเหตุผล” (Unreasonable restraint of trade) ไว้ว่า “การร่วมกันจํากัดการแข่งขัน
                                                   ึ
            โดยปราศจากเหตุผล คือกิจกรรมทางธุรกิจซ่งผู้ประกอบการหลายราย โดยสัญญาความตกลง
                             ี
            หรือเป็นกิจกรรมท่ทําร่วมกัน จํากัด หรือทํากิจกรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการหลายคน
            ดังกล่าวเพื่อกําหนด รักษา หรือขึ้นราคา จํากัดการผลิต เทคโนโลยี สินค้า เครื่องจักร / อุปกรณ์
            การผลิต ลูกค้าหรือผู้ส่งวัตถุดิบ/สินค้า และเป็นเหตุให้เกิดการจํากัดการแข่งขันอย่างมีนัยสําคัญ

            ในตลาดให้ตลาดหนึ่งโดยขัดต่อประโยชน์สาธารณะ” (ศักดา ธนิตกุล, 2562)

                    การพิสูจน์ความผิดภายใต้บทบัญญัติดังกล่าวอาศัยการพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของ
                  ื
                         ี
            “การส่อสารท่แสดงถึงเจตนาของผู้กระทําความผิด” (liaison of intention) ท้งน้บทบัญญัต  ิ
                                                                                  ั
                                                                                     ี
            สําหรับพิจารณาความผิดการตกลงร่วมกัน ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
            มาตรา 54 นั้น คําว่า “ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจอื่น...กระทําการใด ๆ” นั้นพ้องกับคําว่า “ร่วมกัน
            กระทําการใด ๆ” (共同遂行) ในกฎหมายแข่งขันทางการค้าประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทย

                      ึ
                                                                                     ื
            ได้รับหลักก่งความผิดในตัวเอง หรือ Quasi per se ของศาลฎีกาประเทศญ่ปุ่นเพ่อพิจารณา
                                                                                ี
            ฐานความผิดดังกล่าว (ศักดา ธนิตกุล, 2553) ซึ่งคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าประเทศ
                                                                             ื
              ี
            ญ่ปุ่นเห็นว่าจะต้องมีการพิสูจน์ถึง “การนําความตกลงไปดําเนินการจริง” เพ่อพิสูจน์ว่าการตกลง
            ร่วมกันนั้นฝ่าฝืนกฎหมาย (公正取引委員会競争政策研究センター, 2550)
                                     ั
                    การตกลงร่วมกันน้นมักเกิดจากการตกลงกันระหว่างคู่กรณีเป็นการภายในแบบลับ
            ทําให้เกิดอุปสรรคต่อการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเพ่อท่จะ
                                                                                         ื
                                                                                            ี
            หาพยานหลักฐานโดยตรงมาดําเนินคดี ในทางปฏิบัติคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
                      ี
                                                                           ั
            ประเทศญ่ปุ่น (JFTC) วางแนวปฏิบัติว่า การพิสูจน์ความผิดดังกล่าวน้นข้อตกลงสัญญาแบบ
            แจ้งชัด (explicit agreement) อาจไม่จําเป็นเสมอไป พฤติกรรมการร่วมมือแบบสมรู้ร่วมคิดกัน

                    1   มาตรา 3 บัญญัติว่า “An enterprise must not effect private monopolization or unreasonable restraint of trade”



                                                                                             199
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206