Page 101 - ผลงานวิชาการโครงการมหกรรมคุณภาพ โรงพยาบาลตรัง 2562
P. 101

1

                                                            ตะวันใหม่

                       ผู้ป่วยชายไทย 52 ปี refer จากรพ. สตูล ด้วยเรื่อง Lt.basal gangiion hemorrhage รายนี้รับใหม่จาก

               ห้องฉุกเฉิน  ยังไม่ได้รับการผ่าตัดสมอง  เนื่องจากเป็น  case poor prognosis  แพทย์มีแผนการรักษา

               โดยการผ่าตัดสมองเพื่อเอาก้อนเลือดออก  แต่ญาติยังท าใจไม่ได้เรื่องการผ่าตัดและคิดว่าผู้ป่วยรายนี้มี


               โอกาสรอดน้อย  จึงตัดสินใจปฏิเสธการผ่าตัดและขอให้หมอลองใช้ยาช่วยรักษาเรื่องสมองก่อน  แพทย์จึง

               แนะน าว่าเวลา 17.00  น.  จะขอส่งผู้ป่วยไป  CT-Brain  อีกครั้ง  ถ้าก้อนเลือดมีขนาดเพิ่มขึ้นหรือผู้ป่วยซึม

               ลงผู้ป่วยรายนี้ควรได้รับการผ่าตัด  ญาติจึงตกลง  ผลปรากฏว่า  ผู้ป่วยรายนี้มีก้อนเลือดในสมองเพิ่มขึ้น

               ญาติมีความลังเลเพราะกลัวว่าผ่าตัดแล้วผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือถ้ารอดก็มีโอกาสเป็นผักกลัวว่าจะดูแลผู้ป่วย

               ไม่ได้เมื่อต้องดูแลเองที่บ้าน  พยาบาลได้พูดคุยให้ก าลังใจ  และบอกแผนการพยาบาลในการดูแลแบบ

               คร่าวๆ  เพื่อให้ญาติมั่นใจว่า  ภายหลังผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว  ทางทีมผู้ดูแลจะมีการสอนเรื่องการดูแล

               ผู้ป่วยให้  เพื่อญาติจะได้ไม่ต้องกังวล  ญาติจึงตัดสินใจให้ผ่าตัดผู้ป่วยรายนี้ทันที

                       หลังการผ่าตัดผู้ป่วยรายนี้  คะแนนระดับความรู้สึกตัวอยู่ที่  E1  ไม่ลืมตา  M4  ชักแขนขาหนี  แขน

               ด้านขวาไม่มีการเคลื่อนไหน  แขนขาซ้ายขยับได้เล็กน้อย  แพทย์ได้พูดคุยกับญาติเกี่ยวกับอาการผู้ป่วยซึ่ง


               ผู้ป่วยรายนี้อาการหนัก  โอกาสรอดมีน้อย  ญาติจึงแจ้งความจ านงว่าถ้าผู้ป่วยอาการไม่ไหวเมื่อไร  ตนเอง

               และญาติได้พูดคุยกันแล้วว่า  ไม่อยากให้ผู้ป่วยทรมาน  อยากให้เสียชีวิตอย่างสงบ  ตัดสินใจแล้วว่าไม่พยุง

               ชีพทุกชนิด  ซึ่งในช่วงภาวะวิกฤตนั้น  ญาติรู้สึกหมดหวัง  และคิดว่าผู้ป่วยรายนี้ต้องเสียชีวิตอย่างแน่นอน

               แต่ทางทีมพยาบาลผู้ดูแลก็ได้พูดคุยให้ก าลังใจญาติ  แนะน าญาติว่าในช่วงที่เข้าเยี่ยมให้พูดข้างหูผู้ป่วย

               อาจจะบอก  วันเวลา  พูดคุยเรื่องราวต่างๆ  หรือจะอ่านบทสวดให้ผู้ป่วยฟังก็ได้  ซึ่งญาติก็ได้ปฏิบัติตาม

                       หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาและดูแลโดยใช้กระบวนการพยาบาลไปสักระยะหนึ่ง  พยาบาล

               สังเกตเห็นว่าผู้ป่วยรายนี้เริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองมากขึ้น  จากเดิมระดับความรู้สึกตัว  E1  ไม่ลืมตา  M4  ชัก

               แขนขาหนี  แขนด้านขวาไม่มีการเคลื่อนไหน  แขนขาซ้ายขยับได้เล็กน้อย  มาเป็น  E3  ลืมตาเมื่อเรียก  M5

               ทราบต าแหน่งเจ็บ  ไม่มีการมองเลื่อนลอย  ความดันโลหิตจากที่สูงอยู่หลายวัน  ภายหลังแพทย์ปรับยาให้


               เหมาะสมกับผู้ป่วยความดันโลหิตก็อยู่ในช่วงที่น่าพอใจ

                       ทีมพยาบาลได้ท าการปรึกษาพูดคุย  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยรายนี้  ซึ่งมี

               ความคิดเห็นตรงกันว่า  น่าจะเปลี่ยนแผนการพยาบาลให้เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนี้  จากการดูแลแบบ

               ประคับประคอง  เป็นการดูแลให้ผู้ป่วยรายนี้รอด  ปลอดภัย  และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด  จึงได้เชิญญาติ

               มาพูดคุยเกี่ยวกับอาการ  เพื่อหาแนวทางในการวางแผนดูแลผู้ป่วยร่วมกัน  เปิดโอกาสให้ญาติได้ซักถามข้อ

               สงสัย  สร้างความมั่นใจว่าญาติสามารถดูแลผู้ป่วยได้  ให้เชื่อในความสามารถของตนเอง  และสร้าง
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106