Page 12 - โครงการแกว_Neat
P. 12
5
1.2.6 กำลังใจ ได้แก่ ความสามารถที่จะควบคุมอากัปกิริยาต่างๆ ที่กระทำโดยมีเจตนาเช่น ต้องการให้
กระฉับกระเฉงว่องไว หรือเชื่องช้า มีความอดทนหรือเกิดความเบื่อหน่าย เป็นต้น
1.2.7 ลักษณะทางสังคม ได้แก่ ท่าที การปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ชอบออกงานสมาคม มี
เมตตาปราณี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ เป็นต้น
1.3 ความสำคัญของบุคลิกภาพ
ปัจจุบันมนุษย์ทุกคนมีบทบาทในสังคมมากขึ้นทั้งหญิงชาย เด็ก ผู้ใหญ่ และทุกเพศทุกวัย ต่างมีฐานะและ
บทบาทในสังคม มีความสัมพันธ์ มีการทำงานติดต่อสื่อสารกัน มีการเกี่ยวพันกันเพิ่มมากขึ้น และโดยธรรมชาติ
ของมนุษย์มักจะตัดสินใจด้วยความคิดเห็นของตนเองเมื่อพบเห็นหรือสัมพันธ์กับบุคคลว่าคนนี้เป็นคนใจดีมี
เมตตา หรือคนนี้หน้าตาท่าทางน่ากลัวอาจเป็นคนไม่ดีก็ได้ ซึ่งเป็นการตัดสินใจดูแต่ภายนอกเท่านั้น แต่เมื่อได้
พูดคุยคบหาหรือทำงานร่วมกันความรู้สึกที่ไม่ดีมาก่อนอาจเปลี่ยนไปในทางที่ดี นั่นเป็นเพราะเราดูแต่การ
แสดงออกแต่ภายนอกเท่านั้น แต่เมื่อเราคบหากับเขาแล้วเขาได้แสดงบุคลิกภาพภายในออกมาให้เห็น เราจึงมี
ความรู้สึกหรือเจตคติที่เปลี่ยนไปในทางที่ดี ดังนั้นการที่บุคคลมีบุคลิกภาพที่ดีแสดงพฤติกรรมที่ดี เหมาะสมกับ
กาลเทศะ ย่อมเป็นที่ยอมรับของสังคม สามารถอยู่ในสังคมเหล่านั้นได้อย่างมีความสุข
1.4 องค์ประกอบของบุคลิกภาพ
1.4.1 พันธุกรรม (Heredity) เป็นสิ่งที่ติดตัวมากับทารกตั้งแต่เกิด ซึ่งอาจเป็นผลของพันธุกรรมที่ได้รับ
การถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ หรืออิทธิพลต่างๆ ที่มีต่อทารกก่อนคลอดสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนด
ทิศทางและขอบเขตของการพัฒนาบุคลิกภาพในระดับหนึ่ง เช่น รูปร่าง หน้าตา ลักษณะสีผิว ชนิดของโลหิต
สติปัญญา ระบบประสาท ความสมบูรณ์หรือ พิการของร่างกาย ลักษณะทางอารมณ์ เป็นต้น
1.4.2 สิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งแวดล้อมหมายถึงสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวบุคคลและเป็นสิ่งที่เข้ามา
เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดู สภาพ
ภูมิศาสตร์และสถาบันต่างๆ
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพมาก โดยเริ่มตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดามีอิทธิพลต่อการสร้าง
บุคลิกภาพตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ในวัยเด็กครอบครัวมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพมาก เด็กมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบ
พ่อแม่หรือบุคคลในครอบครัว ทั้งเจตคติ ค่านิยม อารมณ์และแบบพฤติกรรมของบุคคลในครอบครัว ระยะนี้เด็ก
อยู่ในสิ่งแวดล้อมวงจำกัด ฉะนั้นสิ่งที่พบเห็นมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเจริญเติบโต ยิ่งโตมากขึ้นยิ่งพบเห็น
สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เด็กได้เรียนรู้และเริ่มสร้างแบบแผนพฤติกรรมของตัวเองขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจาก