Page 13 - โครงการแกว_Neat
P. 13
6
สิ่งแวดล้อมที่ได้รับการสั่งสมมาเรื่อยๆ และเมื่อรวมเข้ากับพันธุกรรมจึงทำให้ลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล
เด่นชัดขึ้น
ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ การให้ความรักความเอาใจใส่ ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว
รวมทั้งสภาพความเป็นอยู่ของบ้าน มีผลทำให้บุคลิกภาพของบุคคลแตกต่างกันไป นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมทาง
สังคม เช่น โรงเรียน สถาบันต่างๆ เพื่อน โรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งประสบการณ์ซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพทั้งสิ้น
1.4.2.1 ประสบการณ์ (Experiences) ได้แก่
1) ประสบการณ์กลาง (Common Experiences) คือประสบการณ์ที่ทุกคนได้รับเหมือนกัน มีแนวทาง
เดียวกัน เป็นประสบการณ์ที่ไม่ว่าบุคคลใดที่อยู่ในสังคมเดียวต่างได้รับเหมือนกัน เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรม ค่านิยมของสังคม เจตคติ ความเชื่อ ศาสนา และคำสั่งสอนต่างๆ ประสบการณ์กลางมีบทบาททำให้
สามารถคาดคะเนพฤติกรรมของบุคคลได้พอประมาณซึ่งไม่สามารถคาดคะเนบุคลิกภาพของบุคคลได้ทั้งหมด
เพราะ
ก. แม้จะอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน แต่วัฒนธรรมที่แต่ละบุคคลได้รับการถ่ายทอดมาไม่เป็นรูปแบบ
เดียวกันอย่างแท้จริง ค่านิยมและการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไป
ข. บุคคลแต่ละบุคคลมีประสบการณ์เฉพาะที่แตกต่างกันออกไปแม้แต่บุคคลที่มีพันธุกรรมเดียวกันแต่
เติบโตสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ยังมีบุคลิกภาพที่ต่างกัน เช่น ฝาแฝดแท้ มีรูปร่างหน้าตาที่เหมือนกัน แต่ถ้าการอบรม
เลี้ยงดูที่ต่างกันก็มีผลต่อบุคลิกภาพเช่นกัน
2) ประสบการณ์ส่วนตัวหรือประสบการณ์เฉพาะ (Unique Expe-riences) คือ แต่ละบุคคลมี
ประสบการณ์เฉพาะบางอย่างที่แตกต่างไปจากบุคคลอื่น ประสบการณ์เฉพาะของแต่ละบุคคลในช่วงชีวิตของเขา
ที่มีพฤติกรรมในการตอบโต้หรือแสดงออกต่อสังคมที่แตกต่างกันออกไป อันอาจเนื่องจากพื้นฐานทางชีววิทยาที่
ต่างกัน พันธุกรรมที่แตกต่างกัน รวมทั้งการอบรมสั่งสอนจากบิดา มารดา ญาติพี่น้องและบุคคลอื่น ๆ ในสังคมที่
ต่างกัน
1.5 การพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
พัฒนาการด้านบุคลิกภาพในวัยต่างๆ แบ่งได้ดังนี้
1.5.1 วัยทารก (Infant) ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 2 ปี