Page 15 - โครงการแกว_Neat
P. 15

8

                 * บิดามารดาต้องหาโอกาสให้เด็กได้คุ้นเคยกับคนแปลกหน้าบ้าง เพื่อเป็นการสร้างพัฒนาการทางสังคม

          ให้แก่เด็ก เด็กจะได้ไม่ขี้อาย


                 1.5.2 วัยเด็กตอนต้น (Children) อายุ 3-5 ปี


          พัฒนาการในวัยนี้เด็กจะเลียนแบบบิดามารดาหรือบุคคลในครอบครัว เช่นพฤติกรรม เจตคติ ค่านิยม อารมณ์

          เป็นวัยที่เด็กผูกพันกับครอบครัวมาก และจากการวิจัยของนักจิตวิทยา พบว่าเด็กที่แยกจากบิดามารดาเป็นระยะ


          นานๆ เด็กจะแสดงอาการไม่มีความสุขอย่างเด่นชัดและมักแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนเด็กที่มีพ่อเลี้ยงหรือมีแม่

          เลี้ยง ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กและหากบิดามารดามีการหย่าร้าง หรือบิดามารดาตายเด็กจะมี

          การปรับตัวมาก เด็กในวัยนี้จะมีความคิดเห็นต่อตนเอง โดยเด็กจะสังเกตจากปฏิกิริยาของผู้ใหญ่ที่มีต่อตนซึ่งจะ

          ทำให้เกิดความคิดเห็นต่อตนเองว่าเป็นคนดีหรือไม่ มีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าผู้ปกครองตั้งระดับ

          ความหวังไว้สูงเกินไป เด็กไม่มีความสามารถพอที่จะทำได้ มีแนวโน้มว่าจะไม่ประสบผลสำเร็จ จะทำให้เด็กเกิด


          ความรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง อาจเกิดความรู้สึกเป็นปมด้อยว่าตนไม่มีความสามารถ การอบรมเลี้ยงดูมีผลต่อ

          บุคลิกภาพของเด็กมาก เด็กบางคนมีลักษณะเอาการเอางาน มีความรับผิดชอบ เพราะบิดามารดาฝึกหัดให้เป็น

          ตัวอย่างที่ดีแก่น้องๆ เด็กบางคนมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากบิดามารดาลำเอียงรักลูกไม่เท่ากัน

          ความแตกต่างระหว่างบุคคลในวัยเด็กนี้จะปรากฎชัดเจน คือเด็กบางคนมีลักษณะการเป็นผู้นำ บางคนมีลักษณะ

          เป็นผู้ตาม บางคนชอบเข้าสังคมสนุกสนาน บางคนชอบอยู่เงียบๆ ชอบหนีสังคมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ


          การได้รับการอบรมฝึกฝนมาจากบิดามารดา นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่างเพศเกี่ยวกับบุคลิกภาพจะปรากฏ

          ชัดเจนในวัยนี้เช่นเดียวกัน เด็กชายมักมีลักษณะเป็นผู้นำคล่องแคล่วว่องไวปราดเปรียว เด็กหญิงจะเชื่อฟัง สุภาพ

          อ่อนหวาน เรียบร้อย ความแตกต่างเหล่านี้อาจเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมของบิดามารดา หรืออาจเกิดจาก

          การอบรมสั่งสอนให้เด็กมีบทบาทตามเพศของตน


                 1.5.3 วัยรุ่นตอนต้น อายุ 13-16 ปี


          อายุ 13-16 ปี ถือว่าเป็นวัยที่เข้าสู่วัยรุ่น เด็กในวัยนี้ในเรื่องบุคลิกภาพ เด็กจะมีลักษณะไม่มีความเชื่อมั่นใน


          ตนเอง มีเจตคติที่ไม่ดีต่อตนเอง ไม่พอใจในตนเองในเรื่องของรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ และสัดส่วนของตน ทั้งนี้

          อาจเนื่องมาจากวัยนี้การพัฒนาการของร่างกายยังไม่พัฒนาไปถึงขีดสุด เด็กจะมีความวิตกกังวลกับการ

          เปลี่ยนแปลงของร่างกาย และอารมณ์ เช่น มือเท้าใหญ่เกินไป แขนขายาว ผิวพรรณไม่เกลี้ยง รูปร่างไม่สมส่วน

          ซึ่งร่างกายจะเป็นเช่นนี้ชั่วคราวเท่านั้น เด็กในวัยนี้ไม่เข้าใจทำให้คิดว่าตนเองผิดปกติ นอกจากนี้ความ

          เจริญเติบโตของร่างกายในวัยนี้ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเก้งก้าง ไม่ทะมัดทะแมง เด็กจะรู้สึกรำคาญและอายถ้าถูก

          วิจารณ์ จึงทำให้เด็กรู้สึกผิดปกติมากขึ้น
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20