Page 25 - โครงการแกว_Neat
P. 25
18
แบบของบุคลิกภาพหรือทฤษฎีบุคลิกภาพ (Personality Theories) เป็นการอธิบายให้ทราบถึง
ลักษณะโดยธรรมชาติของบุคลิกภาพของบุคคล ทฤษฎีบุคลิกภาพจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและทำนาย
พฤติกรรมได้ว่า บุคคลจะมีพฤติกรรมใดบ้างเมื่อเกิดเหตุการณ์ทำนองนั้นๆ ซึ่งนักจิตวิทยาได้ศึกษากันมากต่างก็
เน้น ไปในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกัน บ้างก็เน้นในเรื่องแรงจูงใจ บ้างก็เน้นในเรื่องอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรม
บ้างก็เน้นในเรื่องจิตใต้สำนึก บ้างก็เน้นในเรื่องการรับรู้ บ้างก็เน้นในเรื่องรูปลักษณ์ เป็นต้น
ทฤษฎีบุคลิกภาพมีดังนี้
2.1 ทฤษฎีบุคลิกภาพตามแบบหรือตามประเภท (Type Theories)
ทฤษฎีบุคลิกภาพตามแบบเป็นการแบ่งลักษณะรูปร่างของบุคคล มีนักจิตวิทยาหลายคนแบ่งไว้ดังนี้
เครชเมอร์ (Kretschmer) เป็นนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ชาวเยอรมัน ได้ศึกษาลักษณะรูปร่างของ
ร่างกาย แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1) รูปร่างผอมสูง (Asthenic หรือ Leptosonic Type) ได้แก่ บุคคลที่มีโครงสร้างร่างกายลักษณะตัวยาว
แขนยาว ผอมสูง บอบบาง ไหล่แคบ กระดูกใหญ่ กล้ามเนื้อน้อยผิวพรรณไม่มีเลือดฝาด ไม่เต่งตึง พวกนี้มี
ลักษณะนิสัยคิดมาก เก็บตัวไม่ชอบเข้าสังคม บุคคลประเภทนี้มักมีจิตใจผิดปกติได้ง่าย หากมีอะไรมา
กระทบกระเทือนจิตใจ
2) รูปร่างสมส่วน (Athletic or Athetotic or Muscular Type) ได้แก่ บุคคลที่มีลักษณะร่างกายล่ำสัน
แข็งแรงแบบนักกีฬา รูปร่างเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วงแขนขาสมส่วน พวกนี้มีนิสัยกล้าเสี่ยง กล้าผจญภัย
ต่อการต่อสู้ ไม่คิดมาก มีอารมณ์แจ่มใส ชอบการสมาคมพอสมควร เป็นแบบกลางๆ โดยทั่วไป
3) รูปร่างอ้วนเตี้ย (Pyknic Type) ได้แก่ บุคคลที่มีลักษณะอ้วนเตี้ย ใบหน้าและลำตัวค่อนข้างกลม
ลำตัวสมบูรณ์ไปด้วยไขมัน แขนขาสั้น ไหล่กว้าง พวกนี้มีนิสัยปล่อยตัวชอบเข้าสังคม ร่าเริงแจ่มใส ชอบแสดงตัว
อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่าย บุคคลเหล่านี้ถ้าประสบปัญหาจิตใจจะเป็นโรคจิตคลุ้มคลั่งสลับกับซึมเศร้าได้
ง่าย
4) รูปร่างผิดปกติ (Dysplastic Type) ได้แก่ บุคคลที่มีลักษณะไม่สมประกอบร่างกายบางส่วนผิดปกติ
ธรรมดา หรือร่างกายผิดส่วน เช่น มีลักษณะสูงใหญ่เกินไปหรือแคระแกรน หรือมีลักษณะที่มีปมด้อย มีร่างกายที่
มีมากเกินไป หรือมีไม่ครบ พวกนี้มักมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา บางคนมีนิสัยเกเร
วิลเลี่ยม เอช. เซลดอน (William H. Sheldon) เป็นนักจิตวิทยาและแพทย์ชาวอเมริกันบุคลิกภาพของ
บุคคล เชลดอนแบ่งใช้ 3 ประเภท คือ