Page 27 - โครงการแกว_Neat
P. 27

20

                 ออลพอร์ต (Gordon W. Allport) ได้สร้างแบบทดสอบค่านิยม (Scales of Values)เกี่ยวกับด้าน

          เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรมจริยธรรมของบุคคลหนึ่งแล้วนำไปเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นๆ ปรากฏว่าบุคคล

          ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจะมีบุคลิกภาพลักษณะร่วมกันไม่เหมือนกันทุกอย่าง(Common Traits) แต่ถ้าอยู่ในวัฒนธรรม

          เดียวกัน ย่อมมีบางส่วนของบุคลิกภาพที่เหมือนกัน เช่น คนไทยจะแสดงในความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน



                 ออลพอร์ตจะเน้นในเรื่อง Traits เขาเชื่อว่า Traits เป็นสิ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้

          บุคคลแตกต่างไปจากบุคคลอื่น ๆ และจะเป็นแนวทางของพฤติกรรมในบุคคลนั้นๆ


                 ทฤษฎีบุคลิกภาพของออลพอร์ตมี 2 ลักษณะ ดังนี้


                 1) ลักษณะสามัญ (Common Traits) เป็นลักษณะที่สามารถเปรียบเทียบได้กับบุคคลทุกคนที่อยู่ใน

          ชุมชนเดียวกันในเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจการเมือง ศาสนาและสังคม


                 2) ลักษณะเฉพาะบุคคล (Personal Disposition) เป็นบุคลิกภาพลักษณะเฉพาะที่เป็น เอกลักษณ์


          เฉพาะบุคคล และเป็นปัจจัยที่ทำให้บุคลิกภาพแตกต่างกันนอกจากนี้ ออลพอร์ตยังแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น

          ส่วนย่อยไว้ 3 ส่วน คือ


                 ก. ลักษณะเด่นของบุคคล (Cardinal Trait) คือลักษณะที่เวลานึกถึงเขาจะนึกถึงในลักษณะนี้เสมอ ซึ่งมี

          อิทธิพลเหนือลักษณะอื่น ๆ ของเขาหมด บางครั้งจะให้สมญานามต่างๆตามลักษณะของบุคคลที่มีลักษณะเด่นๆ

          ในสังคม เช่น “สาวสองพันปี”



                 ข. ลักษณะบุคลิกภาพที่เป็นกลางๆ (Central Trait) คือลักษณะที่ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ เท่า ๆ กัน

          หลายอย่างมารวมกัน เช่น เป็นคนร่าเริงแจ่มใส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีคุณธรรม มีเหตุผล


                 ค. ลักษณะปลีกย่อย (Secondary Trait) คือลักษณะปลีกย่อย เช่น ค่านิยม เจตคติความสนใจ รสนิยม

          เป็นต้น เป็นการมองลักษณะปลีกย่อยซึ่งแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน


                 เรมอนด์ บี. แคทเทลล์ (Ramond B. Cattel) ได้ทำการศึกษาลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของบุคคลด้วย


          วิธีวิทยาศาสตร์ เขาอธิบายว่าลักษณะนิสัยของบุคคลมีทั้งส่วนผิว(Surface Triats) และส่วนที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน

          (Source Traits) เขาใช้วิธีการสังเกตดูจากลักษณะที่บุคคลประพฤติ และตอบโต้หรือมีแนวโน้มที่จะตอบโต้ใน

          สถานการณ์ต่างๆ ซึ่งบางอย่างเห็นได้ชัด แคทเทลล์เรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะนิสัยพื้นผิว (Surface Traits) เช่น

          ยิ้มแย้มแจ่มใส เข้ากับบุคคลอื่นง่าย แต่บางอย่างก็เข้าได้ยาก เพราะซ่อนเร้นอยู่ภายในเรียกว่าลักษณะนิสัยซ่อน

          เร้น (Source Traits) ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะพื้นผิวเป็นผลมาจากแรงจูงใจ ความต้องการ ความกังวล ความ

          กลัว ความกระวนกระวาย ฯลฯ ที่ฝังลึกอยู่ภายใน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32