Page 30 - โครงการแกว_Neat
P. 30
23
ด้อย และแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อลบปมด้อยของตนเองมาตลอดจนกลายเป็นแบบแผนของบุคลิกภาพโดยไม่
รู้ตัวบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นจากการพยายามลบปมด้อยโดยไม่รู้ตัวนั้น แอดเลอร์กล่าวไว้ว่า เกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ 2
ประการ คือ
1. ความพยายามปรับตัวให้เข้ากับสังคม (Social Adaptation)
2. ความพยายามให้ได้มาซึ่งอำนาจ (Attenment of Power)
ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม แอดเลอร์เน้นอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
มากกว่าพันธุกรรม แอดเลอร์ได้ทำการศึกษาความต้องการทางกาย ว่ามีอิทธิพลเพียงใดต่อบุคลิกภาพของคน
ต่อมาเขาหันไปศึกษาสถานการณ์ (สิ่งแวดล้อม) ช่วยหล่อหลอมบุคลิกภาพให้เห็นเด่นชัดขึ้น เช่น การแสดงออก
ของพ่อแม่พี่น้องที่มีต่อความพิการของเด็กซึ่งเท่ากับเป็นการย้ำให้เห็นบุคลิกภาพของเด็กพิการเด่นชัดยิ่งขึ้น แอด
เลอร์ย้ำว่าเจตคติของบุคคลที่มีต่อความพิการของตนเองมีความสำคัญมาก เช่น ไม่มีมือ แต่สามารถวาดภาพได้ดี
เยี่ยมทั้งนี้เป็นเพราะเขาเป็นคนที่มีเจตคติไม่ยอมแพ้ต่อความพิการของเขา
แอดเลอร์ได้กล่าวถึงอิทธิพลที่มีต่อการสร้างบุคลิกภาพไว้ ดังนี้
1) สิ่งที่เป็นมาแต่กำเนิด (Organism) แอดเลอร์มีความเห็นว่าการที่คนเรามีระยะเวลาการเป็นทารกและ
เป็นเด็กเป็นเวลานาน ย่อมมีอิทธิพลต่อเจตคติเกี่ยวกับชีวิตของตน ในขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่ท่ามกลางผู้ใหญ่ ซึ่งมี
อิทธิพลเหนือเด็กทุกอย่าง เด็กจะเกิดความรู้สึก “ด้อย”ความรู้สึกด้อยทำให้ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อลบล้าง และ
เพื่อให้ตนมีฐานะเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ ในทางปฏิบัติแอดเลอร์ได้ถึงความรู้สึกเกี่ยวกับสังคม (Social Feeling) หรือ
ความสนใจในสังคม(Social Interest) โดยอธิบายว่า “ความรู้สึกเกี่ยวกับสังคมหรือความสนใจในสังคมเป็นตัว
สำคัญในการพัฒนาการของเด็ก ความรู้สึกอันนี้สังคมเป็นผู้สอนให้ โดยเฉพาะแม่”
2) สิ่งแวดล้อม (Milieu) แอดเลอร์มีความเห็นพ้องกับฟรอยด์คือระยะ 5 ปีแรกของเด็ก เป็นระยะที่
สำคัญที่สุด ฟรอยด์เน้นเรื่องแรงขับทางเพศ มีอิทธิพลต่อชีวิตในระยะนี้และต่อการสร้างบุคลิกภาพต่อไป ส่วน
แอดเลอร์เน้นเรื่องเจตคติของพ่อแม่ที่มีต่อเด็กและสัมพันธภาพระหว่างพี่น้องเป็นสำคัญ ในเรื่องเจตคติของพ่อ
แม่นั้นแอดเลอร์กล่าวถึงเด็กที่ถูกตามใจจนเสียคนกับเด็กที่ถูกเกลียดชังว่ามีลักษณะที่แตกต่างและคล้ายคลึงกัน
อย่างไรบ้างเด็กที่ถูกตามใจจนเสียคน (Spoiled Child) เวลาอยากได้อะไรต้องเอาให้ได้ ใครจะเป็นอย่างไรไม่
สนใจ ขอเพียงให้ตนเป็นผู้ได้ก็พอ แอดเลอร์ตั้งข้อสังเกตว่า อาชญากรส่วนมากเป็นพวกที่ถูกตามใจจนเสียคนเมื่อ
ยังเป็นเด็ก เขามีความคิดว่าสังคมเป็นหนี้เขา เขาไม่ต้องตอบแทนแต่ประการใด เขาอยากได้อะไรก็จะหยิบฉวย
เอาตามความพอใจโดยที่เขาไม่ละอายใจทั้งนี้เนื่องจากสมัยเขายังเป็นเด็กพ่อแม่ตามใจ ทำให้เด็กคิดว่าตนเอง
ยิ่งใหญ่ ถึงแม้จะต้องพึ่งคนอื่นก็ไม่เกรงใจ