Page 35 - โครงการแกว_Neat
P. 35
28
2.6 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นจิตแพทย์และนักจิตวิทยาชาวเวียนนาประเทศออสเตรีย ได้รับ
ฉายาว่าเป็นบิดาของจิตวิเคราะห์ ฟรอยด์ได้อธิบายไว้ว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพประกอบด้วยระบบ 3 ระบบที่
สัมพันธ์กันคือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซุปเปอร์อีโก้ (Superego)
อิด (Id) เป็นโครงสร้างที่ถูกควบคุมด้วยสัญชาตญาณ (Instinct) เป็นความอยากที่มีพลังแรงขับให้คนเรา
ประกอบพฤติกรรมต่างๆ ออกมา เป็นสิ่งที่คนเรามีมาตั้งแต่กำเนิด เป็นสิ่งที่อยู่ในจิตรู้สำนึก (Consciousness)
ของคนเรา เพราะเรารู้ตัวอยู่เสมอว่าเราอยากได้อะไร อยากทำอะไร แล้วแต่สัญชาตญาณจะบัญชา พลังที่เกิด
จากแรงขับของ Sexual Instincts นั้น ฟรอยด์เรียกว่า แรงขับลิบิโด (Libido) แรงขับลิบิโดนี้จะปลุกเร้าคนให้ทำ
ตามความต้องการของอิด ซึ่งอิดประกอบด้วยความต้องการพื้นฐานของร่างกาย (Biological Needs) แรงขับลิบิ
โดจะปลุกเร้าให้คนทำตามความต้องการโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงของชีวิต กฎเกณฑ์ทางจริยธรรม ฟรอยด์
เชื่อว่าพฤติกรรมของทารกก่อน 8 เดือนนั้นเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากอิดนี่เอง คือเมื่อไม่พอใจหรือเกิดความ
ต้องการใดๆ ทารกจะร้องไห้จนกว่าจะได้รับการตอบสนอง ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นจึงจะหายไป
อีโก้ (Ego) เป็นพลังขั้น 2 ของบุคคลเหนืออิด อีโก้เป็นส่วนที่พัฒนาเจริญขึ้นตามวัยอีโก้มีโครงสร้างที่มี
เหตุผล มีความเป็นจริงความถูกต้องเป็นหลัก พลังส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่เหนี่ยวรั้งและควบคุมความ
ต้องการของอิดให้แสดงออกในวิถีทางที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นตัวกลางคอย
ประนีประนอมระหว่างโลกภายนอกกับแรงขับภายใน อิดกับอีโก้จะขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา เพราะอีโก้ทำงาน
ตามหลักแห่งความเป็นจริง (Principle of Reality) เพราะเป็นส่วนที่ติดต่อกับโลกภายนอก รู้ว่าจะแสดง
พฤติกรรมอย่างไรจึงจะเหมาะสมส่วนอิดเป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในและต้องการการสนองตอบ เพื่อให้ตน
พึงพอใจ
หน้าที่ของอีโก้
อีโก้เป็นพลังจิตส่วนที่ควบคุมการแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสม มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้
1. ควบคุมความต้องการจากพลังของอิดที่ไม่พึงประสงค์ของสังคมให้ปรากฏออกมา
2. พยายามไม่ให้เกิดความทุกข์อันเนื่องมาจากการกดความอยากต่างๆ ผ่อนคลายหรือแก้ไขความทุกข์
อันเนื่องจากการต้องการกับกดความต้องการที่เกิดพลังขับของอิด ระงับความขัดแย้งระหว่างความต้องการ เพื่อ