Page 36 - โครงการแกว_Neat
P. 36

29

          สนองความต้องการของตนกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี อีโก้อาจใช้กลไกป้องกันตนเองโดยแสดงพฤติกรรมออกมา

          อย่างไม่รู้ตัว เช่น เก็บกด ก้าวร้าว หลีกเลี่ยงทดแทนหรือชดเชย


                 3. ทำตนให้เป็นผู้มีวุฒิภาวะขั้นสูง โดยการเรียนรู้ที่จะปรับตนให้เหมาะสมกับวิถีทางที่สำคัญยอมรับและ

          ตนเองก็สามารถแก้ปัญหาได้


                 ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นแหล่งที่คอยควบคุมอีโก้ให้หาหนทางที่เหมาะสมในการตอบสนองความ


          ต้องการของอิด เป็นโครงสร้างที่ถูกควบคุมด้วยประเพณีและศีลธรรมของแต่ละสังคม ซุปเปอร์อีโก้พัฒนามาจาก

          อีโก้อีกที่หนึ่ง เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของมาตรฐานของ  ศีลธรรม หรือหลักการของ

          ศาสนาที่สอนให้มนุษย์เข้าใจชีวิตที่มีคุณภาพ มีจิตใจอันดีงาม ซึ่งเกิด จากการเรียนรู้อบรมสั่งสอน ซุปเปอร์อีโก้

          จะคอยห้ามมิให้อิดและอีโก้ทำผิดประเพณี ผิดศีลธรรม



                   ระบบทั้ง 3 จะประสานกันทำงาน อิดเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย (Biological Component)อีโก้เป็นส่วน

          ของจิต (Psychological Component) และซุปเปอร์อีโก้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม(Social Component) รวม

          ทั้งหมดก็คือจิตของมนุษย์


                  2.7 ทฤษฎีบุคลิกภาพตามทัศนะของนักมนุษย์นิยม (Humanistic Theories)


                 คาร์ล รอนสัน โรเจอร์ (Carl Ronson Rogers) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับ

          บุคลิกภาพของบุคคลไว้ว่าการที่บุคคลมีบุคลิกภาพแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ของตนเอง (Self Concept) ของ

          บุคคล ถ้ามี Self Concept แบบไหน บุคลิกภาพของเขาก็จะพัฒนาไปตามแบบนั้น โรเจอร์ได้ทำการศึกษา


          พัฒนาการของความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองหรืออัตมโนภาพ โดยสังเกตปฏิกิริยาของบุคคลที่มีสัมพันธภาพกับ

          เขา เช่น พ่อแม่ปฏิบัติต่อเขาด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่าตัวเขาเองมีค่า ทำให้เขาเกิด

          ความรู้สึกภูมิใจในตนเอง แต่ถ้าพ่อแม่มิได้รักเขา ไม่เอาใจใส่ต่อเขา เมื่อเขาทำสิ่งใดผิด หรือทำแล้วประสบความ

          ล้มเหลวจะได้รับการดูถูกดูแคลนจากผู้อื่น ทำให้เขาเกิดความรู้สึกมีปมด้อย มองดูตัวเองว่าเป็นคนไม่มี

          ความสามารถ ทำให้สังคมไม่ยอมรับ ซึ่งมีผลทำให้เขาเกิดปมด้อย และไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง



                 2.8 ทฤษฎีบุคลิกภาพตามหลักการเรียนรู้ (Learning Approach)


                 บีเอฟ สกินเนอร์ และเอลเบิร์ท แบนดูรา (B.E. Skinner and Albert Bandura) เป็นผู้ทดลองเกี่ยวกับ

          ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบแสดงพฤติกรรม เขาเชื่อว่าพฤติกรรมใดๆ ก็ตามถ้าได้รับการ

          เสริมแรง (Reinforcement) จะมีแนวโน้มทำให้เกิดการกระทำอีก นอกจากนี้เอลเบิร์ท แบนดูรา ได้กล่าวว่า

          บุคลิกภาพอาจเกิดจากการเรียนรู้โดยการเลียนแบบหรือเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่นฉะนั้นการเรียนรู้


          เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมจนเกิดเป็นบุคลิกภาพของคนๆ นั้นซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41