Page 28 - โครงการแกว_Neat
P. 28
21
ลักษณะซ่อนเร้นทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมพื้นผิว ออกมาหลายๆ อย่าง และถ้าจะย้อนกลับไปศึกษา
ลักษณะซ่อนเร้นว่ามันคืออะไร สามารถที่จะศึกษาได้ ซึ่งเจ้าตัวอาจจะรู้หรือไม่รู้ก็ได้ลักษณะซ่อนเร้นจะมีสองขั้ว
ที่มีลักษณะตรงกันข้าม เช่น อ่อนโยน ตรงกันข้ามกับก้าวร้าว แคทเทลล์ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor
Analysis) จำแนกลักษณะซ่อนเร้นออกเป็น 16 อย่าง เรียกว่า ตัวประกอบ 16 ประการ ของบุคลิกภาพ เขาเชื่อ
ว่าทุกคนมีลักษณะนิสัยต่าง ๆ เหมือนกันแต่จะต่างกันตรงที่ว่าแต่ละบุคคลจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็น
ส่วนที่ทำให้บุคคลต่างกัน ลักษณะเหล่านี้จะมั่นคงพอสมควร และเป็นแนวทางที่แสดงออกมาของบุคคล
การศึกษาของแคทเทลล์เริ่มเห็นด้วยกับวิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตพฤติกรรมจริงและมี
คณะกรรมการลงคะแนนเกี่ยวกับพฤติกรรมว่าเข้าลักษณะประเภทใด นอกจากนี้ยังใช้วิธีศึกษาในห้องปฏิบัติการ
และใช้แบบทดสอบ การศึกษาของแคทเทลล์ใช้กับประชาชนทุกเพศ ทุกวัยและทุกอาชีพ ลักษณะพฤติกรรมใดที่
เข้ากลุ่มกันได้คือค่าสหสัมพันธ์เชิงสถิติ แคทเทลล์จะกำหนดให้เข้ากลุ่มเป็นนิสัยพื้นผิวอันเดียวกัน โดยอาศัยการ
ให้คะแนนของคณะกรรมการเป็นหลัก หลังจากได้ศึกษาครั้งที่หนึ่งแล้ว ได้ทำการศึกษาครั้งที่สอง โดยใช้วิธี
วิเคราะห์ที่ตัวประกอบ (Factor Analysis) จากการศึกษานิสัยส่วนผิวหลายๆ ด้าน อันมีเนื้อหาของพฤติกรรม
ที่มาจากเหตุหรือเค้าเงื่อนเดียวกัน แคทเทลล์จะกำหนดให้อยู่ในนิสัยซ่อนเร้นเดียวกัน
จากผลการศึกษาของแคทเทลล์ชี้ให้เห็นว่าลักษณะนิสัยหนึ่งๆ จะมีระดับตั้งแต่ต่ำสุดจนถึงสูงสุด ซึ่ง
ลักษณะนิสัยจะออกมาเป็นสองขั้วตรงกันข้าม มีอยู่ 16 อย่าง ได้แก่
1) อารีอารอบ ตรงข้ามกับ เห็นแก่ได้
2) เชาวน์ไว ตรงข้ามกับ ทึบ
3) หนักแน่น ตรงข้ามกับ หวั่นไหว อ่อนไหวง่าย
4) ใฝ่อิทธิพล ตรงข้ามกับ คล้อยตาม โอนอ่อนผ่อนตาม
5) มีหลักการ ตรงข้ามกับ ปล่อยไปตามเรื่อง
6) เบิกบาน ตรงข้ามกับ ซึมเศร้า รันทด เครียด
7) องอาจ ตรงข้ามกับ ขลาดอาย
8) อ่อนไหว ตรงข้ามกับ เด็ดขาด
9) ริษยา ตรงข้ามกับ ยอมรับสถานการณ์
10) ใฝ่ฝัน ตรงข้ามกับ ทำตามสถานการณ์