Page 56 - tt
P. 56

-๕๒-



                                                  ยุทธศาสตร์ชาติ


                   ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม




               ๑.  บทนํา

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอยู่อย่างจํากัด ถือว่าเป็นองค์ประกอบ

               สําคัญในการดํารงชีพของมนุษย์ และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และเพื่อให้สามารถ
               บรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะ ๒๐ ปีได้อย่างยั่งยืน จึงจําเป็นต้องกําหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ

               ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อกําหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา
               ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศในปัจจุบันที่มีปัญหาความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง

               ทั้งในส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม
               ทรัพยากรน้ําที่ยังไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความเสี่ยงในการ

               ขาดแคลนในอนาคต ซึ่งปัญหาเชิงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะก่อให้เกิดจุดอ่อนของการรักษา
               และยกระดับฐานการผลิตและบริการของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

                       ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้น้อมนํา

               ศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลัก ๓ ประการคือ “มีความพอประมาณ มีเหตุผล

               มีภูมิคุ้มกัน” มาเป็นหลักในการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติควบคู่กับการนําเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
               ทั้ง ๑๗ เป้าหมาย มาเป็นกรอบแนวคิดที่จะผลักดันดําเนินการเพื่อนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนา
               ที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วน

               ความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อให้ ประเทศไทย

               เป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. ๒๕๘๐

                       จากหลักการดังกล่าวข้างต้น ทําให้การพัฒนายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโต
               บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถูกดําเนินการบนพื้นฐานความเชื่อในการเติบโตร่วมกัน

               ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสําคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง
               ๓ ด้าน ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป อันจะนําไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง สอดคล้องกับ

               แนวคิดหลักของแผน คือ เติบโต สมดุล ยั่งยืน ซึ่งเป็นหัวใจของยุทธศาสตร์ชาติด้านนี้


               ๒.  เป้าหมาย
                       ๒.๑  อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ให้คนรุ่นต่อไปได้ใช้

               อย่างยั่งยืน มีสมดุล

                       ๒.๒  ฟื้นฟูและสร้างใหม่ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบทางลบ

               จากการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของประเทศ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61